รวมแล้วแยก แยกแล้วรวม สี่สภาวะที่เกิดขึ้น ในวงสนทนา
หนึ่ง) เริ่มต้นล้อมวง รวมตัว เริ่มต้นแนะนำตัวที่เป็นเปลือกนอก แบ่งปันความคิดเห็นในแบบสุภาพ เกรงใจ กลัวเสียงวิจารณ์ภายนอก (talking nice)
สอง) เริ่มแยกตัวเองจากองค์รวม มีความคิดเห็นเป็นตัวของตัวเอง แสดงจุดยืน เลือกข้างตามเหตุผล ชุดข้อมูล ความคิด ที่เคยมีมาก่อน (talking tough)
สาม) เริ่มกลับมาสำรวจตนเอง ได้ยินเสียงภายใน มีการชั่งใจ ตั้งคำถาม สืบค้น สะท้อนจากเสียงภายในของตัวเองต่อส่วนรวม (reflective dialogue)
สี่) มีสติต่อเนื่องอยู่ในปัจจุบัน (presencing) เชื่อมโยงเห็นองค์รวม เกิดบทสนทนาที่ไหลเลื่อน (flow) เกิดปัญญากลุ่ม (collective wisdom) ที่สั่งสม เกื้อหนุนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ แม้เพียงคิดในใจ ความคิดนั้นก็ล่วงรู้ถึงกันได้ ผ่านสนามแห่งปัญญา (generative dialogue)
นอกจากนี้ ความสามารถในการการรับรู้อารมณ์ความรู้สึก (empathy) ของตนเองและผู้อื่น อย่างซื่อตรงเป็นปัจจุบัน คือ หัวใจของการยกระดับการอยู่ร่วม จากโหมดโต้ตอบแบบฉับพลัน (reacting ) เพื่อเข้ามาสู่โหมดการตอบสนองอย่างรู้สึกตัว (responding) และ ความกรุณา (compassion) จะช่วยให้เราเปิดพื้นที่ว่างในหัวใจ (holding the space) ให้ยอมรับ และ อนุญาตเปิดรับประสบการณ์ที่แตกต่าง หรือ ขัดแย้งกับความรู้สึกตนได้ ซึ่งจะยกระดับการอยู่ร่วม จากโหมดการตอบสนองอย่างรู้สึกตัว (responding) เข้าสู่โหมดการสะท้อน (reflecting) ได้ด้วยความกรุณา ข้อสังเกตก็คือ การตระหนักรู้ในตนเอง (self-awareness) นั้นเป็นประตูสู่การตระหนักรู้ในการอยู่ร่วม (social awareness)
หนึ่ง รวมตัวล้อมวงสนทนา
สอง แม้รวมก็เหมือนแยก
สาม แยกตัวตนใคร่ครวญ
สี่ หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน