การโค้ชวิถีไทยพลังบวก : Appreciative Inquiry Coaching

การเข้าร่วมเรียนรู้ศาสตร์ศิลป์หลายแห่ง สลับกับการออกงาน รับใช้วงการฝึกอบรมทางจิตวิญญาณ พร้อมทั้งธุรกิจส่วนตัวเล็กๆ ที่เป็นน้ำทิพย์หล่อเลี้ยงให้ชีวิตเป็นอิสระ ก็เติบโตก้าวหน้า ทำให้เวลาในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเดินทางไปไวมาก รู้สึกได้เลยว่า การค้นพบเป้าหมายของการเกิดมามีชีวิต ชัดเจนขึ้นแล้ว ก็ยิ่งชัดเจนขึ้นไปอีก

งานเขียนนี้ ขอเท้าความย้อนไป 2 สัปดาห์ก่อน ในวันเสาร์ ที่ 3 ตุลาคม 2558 กับการเรียนรู้หลักสูตรการโค้ชวิถีไทย (Thai Coach) รุ่นที่ 6 โดย สมาคมการโค้ชวิถีไทย เป็นการเรียนครั้งที่ 3 จากทั้งหมด 9 ครั้งตลอดหลักสูตร ครั้งนี้มาเรียนรู้ในหัวข้อ การโค้ชวิถีไทยพลังบวก (Appreciative Inquiry Coaching) กับ ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ เหมือนเช่นเคยนะครับว่า ผู้เขียนจะเขียนสรุปบทเรียนตามอำเภอใจ ผสมผสานความเข้าใจส่วนตัวเพื่อการพัฒนาฝึกฝนเป็นประโยชน์ต่อตนเองต่อไป ผู้อ่านจึงควรพิจารณาใคร่ครวญให้เกิดประโยชน์กับตน เช่นกัน

Flow Theory
องค์ความรู้ที่สำคัญมากในครั้งนี้ คือ เรื่องการสร้างสมดุลให้กับตัวเอง จนเข้าสู่สภาวะที่เรียกว่า Flow ซึ่งจะทำให้ชีวิตเข้าสู่โหมดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการดำรงอยู่ จากรูปด้านบน คือ ตำแหน่ง A4 
จากกราฟด้านบน ในบางครั้งชีวิตมนุษย์ตกอยู่ในสภาวะ งมโข่ง (Apathy) ตำแหน่ง A1 
กรณี ตกอยู่ในสภาวะงมโข่ง (Apathy) แล้วเพิ่มในส่วนทักษะ (Skills) ใหม่ๆ เข้าไปเพิ่ม จะทำให้สภาวะงมโข่งหายไป เคลื่อนจากตำแหน่ง A1 สู่ A2 สภาวะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ คือ  เซ็งเป็ด (Boredom) ลองคิดถึงคนที่ทำงานซ้ำๆ จนเชี่ยวชาญ เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ แต่ยังคงได้รับบทบาทเท่าเดิม จะทำให้คนคนนั้น ตกอยู่ในสภาวะ เซ็งเป็ด (Boredom) คือ ตำแหน่ง A2 การเพิ่มบทบาทความท้าทายใหม่ๆ (Challenge) เข้าไปเพิ่ม จะทำให้คนคนนั้น เข้าสู่สภาวะ Flow คือ ตำแหน่ง A4 ได้ในที่สุด
กรณี ตกอยู่ในสภาวะงมโข่ง (Apathy) แล้วเพิ่มในส่วนความท้าทายใหม่ๆ (Challenge) เข้าไปเพิ่ม จะทำให้สภาวะงมโข่งหายไป เคลื่อนจากตำแหน่ง A1 สู่ A3 สภาวะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ คือ ประสาทกิน (Anxiety) ลองคิดถึง พนักงานใหม่ภายในองค์กร เมื่อได้รับมอบหมายงานที่ไม่เคยทำมาก่อน จะเกิดสภาวะ ประสาทกิน (Anxiety) ทันที การเพิ่มทักษะ (Skills) ให้กับพนักงานใหม่อย่างเพียงพอ จะทำให้พนักงานคนนั้น เข้าสู่สภาวะ Flow คือ ตำแหน่ง A4 ได้ในที่สุด
ทฤษฎี Flow นี้ เชื่อมโยงสู่หลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนา เรื่องทางสายกลาง (The Middle Way)
สภาวะที่ละเอียดขึ้นไป ในทฤษฎี Flow (จากกราฟด้านบน)
  • จับสัญญาณ ความกังวล ก่อนจะประสาทกิน
    สีฟ้า-สีแดง : เซ็งเป็ด (Apathy) > กังวล (Worry) > ประสาทกิน (Anxiety)
  • จับสัญญาณ การตื่นตัว เพื่อนำสู่ Flow
    สีแดง-สีเหลือง : ประสาทกิน (Anxiety) > ตื่นตัว (Arousal) > Flow
  • จับสัญญาณ ความเบื่อ ก่อนจะเซ็งเป็ด
    สีฟ้า-สีเขียว : เซ็งเป็ด Apathy > เบื่อ (Boredom) > เซ็งเป็ด (Relaxation)
  • จับสัญญาณ การเข้าควบคุม เพื่อนำสู่ Flow
    สีเขียว-สีเหลือง : เซ็งเป็ด (Relaxation) > เข้าควบคุม (Control) > Flow
ในวงสุทรียสนทนา (Dialogue) นั้น หน้าที่ของกระบวนกร (Facilitator) ก็คือ การสร้างความสะดวก สบาย การเชื้อเชิญ การตั้งคำถามเล็กน้อย หรือ อธิบายกฏกติกาเพิ่มเติม เพื่อนำบรรยากาศของวงสนทนา ให้เข้าสู่สภาวะ Flow นั่นเอง
AI (Appreciative Inquiry)
คือ ศาสตร์แห่งการค้นหาข้อดี สิ่งที่ภูมิใจ แม้เพียงเรื่องเล็กๆ ภายในองค์กร เพื่อนำไปสู่การค้นพบวิธีการพัฒนาองค์กรที่เหมาะสมตามบริบท เป็นแบบเฉพาะตัวขององค์กรนั้นๆ เอง ตรงกับสำนวน “จุดตะเกียง ดีกว่าด่าความมืด” เช่น การถามสิ่งที่ภูมิใจ ความสำเร็จในอดีต ถามถึงงานอดิเรกที่ใช่ ซึ่งอาจพัฒนาสู่การเป็นงานหลักที่ชอบ
AI Coaching Model (5I)
  • Inspire
    ต้องฟังมากๆ ว่าโค้ชชี่ต้องการอะไร การถามว่าต้องการอะไรอาจไม่พอ
  • Inquire
    การตั้งคำถามเพื่อค้นหาสิ่งดีๆ ภายในตัวโค้ชชี่ ลูกค้า และ องค์กร
  • Imagine
    สร้างภาพฝันความสำเร็จ (Desired State) และ คุณค่าของเป้าหมาย (Value)
  • Innovate
    พัฒนาวิธีการ หาแนวร่วมผ่านสามคนไม่ธรรมดา (The Tipping Point) และ สร้าง Action Plan ด้วยหลัก 10-10-10 (คือ 10 วันจากนี้ จะทำอะไร, 10 สัปดาห์จากนี้ จะทำอะไร และ 10 เดือนจากนี้ จะทำอะไร)
  • Initiate
    ทำจริง ประเมิน เรียนรู้ ปรับเปลี่ยน
“Please call me by my true names
… Joyful Solidity of The Heart”
เขียนโดย : รัน ธีรัญญ์

Comments

comments