Category Archives: Executive

“ทำให้ง่าย” หัวใจของ Startup ที่ปรับใช้ได้ในชีวิต – Startup Concept

การทำความเข้าใจกระบวนการเติบโตที่รวดเร็วของ “Startup” ช่วยให้องค์กรทั้งเล็กและใหญ่ ประหยัดทรัพยากรไปได้มากเลยครับ โดย 2 สิ่งที่เป็นหัวใจของ Startup ก็คือ Repeatable และ Scalable 1. Repeatable Repeatable คือ สามารถใช้ซ้ำได้ ถ้ามองจากมุมลูกค้า จะหมายถึง สินค้าและบริการที่ออกแบบมา ต้องเป็นสิ่งที่ลูกค้าซื้อซ้ำได้ เช่น เครื่องดื่มที่ดื่มแล้วติดใจ เมื่อลูกค้ากระหายน้ำ ก็ย่อมซื้อซ้ำอีกแน่นอน ในขณะที่สินค้าและบริการบางประเภท ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อซ้ำ เช่น Application ที่ซื้อเพียงครั้งเดียวจบ เป็นต้น ดังนั้น หากอยากให้ Application มีสิ่งที่เรียกว่า “Repeatable” เราก็ต้องออกแบบให้ภายในบริการนั้น มีสิ่งที่ลูกค้าจะซื้อซ้ำได้ เช่น บริการ Sticker Line จะมี Sticker Shop ที่สามารถเพิ่มแบบใหม่ ๆ อยู่เรื่อย ๆ ทำให้ลูกค้าซื้อซ้ำได้ เป็นต้น Repeatable ในมิติภายในองค์กร ถ้ามองว่าตัวเราเอง ออกแบบกระบวนการเพื่อตัวเราหรือทีมของเรา […]

ปรับประยุกต์ใช้ OKRs ในองค์กรของเรา – Why do you need OKRs?

OKRs ย่อมาจากคำว่า Objectives and Key Results เป็นเครื่องมือในการกำหนดเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดเป้าหมายที่มีความท้าทายและสามารถวัดผลได้ องค์กรชื่อดังอย่างเช่น Google, LinkedIn, Spotify, Intel, Twitter, Dropbox และ Uber ต่างได้นำ OKRs มาปรับใช้ในองค์กร ทำให้ OKRs กลายเป็นเครื่องมือที่ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ เพียงแต่ว่าการนำ OKRs มาใช้ในองค์กรเพราะเห็นองค์กรอื่นใช้อาจไม่ใช่เหตุผลที่ดีพอ การเข้าใจถึงแก่นแท้และความสำคัญของ OKRs ว่าเกิดขึ้นมาเพราะอะไร ช่วยแก้ปัญหาอะไรและจะมีประโยชน์อย่างไรกับองค์กรบ้าง จะช่วยให้เราสามารถปรับประยุกต์ใช้ OKRs ได้อย่างเหมาะสมตามบริบทขององค์กรของเราเอง ต่อไปนี้ คือ เหตุผลเบื้องหลังที่ทำให้ OKRs มีประโยชน์ต่อการทำงานร่วมกัน โดยเรียบเรียงเนื้อหาผ่าน FACTS Model (Doerr, 2018) ที่ประกอบไปด้วย (1) Focus (2) Alignment (3) Commitment (4) Tracking the Progress […]

เทคนิคการเล่าเรื่อง 8 แบบ : Story Telling

ทุกวันนี้ ยังจำเพื่อนสมัยวัยเด็กได้ การจำได้นี่มาพร้อมกับสถานที่ ผู้คน ภาพ แสง สี เสียงต่าง ๆ ที่อยู่ในวีรกรรมของเรา นั่นเพราะธรรมชาติของเราเกือบทุกคน สามารถจดจำจากเรื่องเล่า ได้มากกว่า ยาวนานกว่า การท่องจำจากข้อมูล การเล่าเรื่อง (Story Telling) จึงน่าสนใจ เทคนิคการเล่าเรื่อง 8 แบบ เทคนิคการเล่าเรื่องเหล่านี้ เราอาจใช้อยู่แล้วแบบที่ไม่รู้ตัว สัญชาตญาณการเล่าเรื่องนี้ อาจเกิดจากการดูหนังมา หรือ การอ่านนิยายมาหลาย ๆ เรื่อง เป็นสิ่งที่ดี หากเกิดความรู้ที่ชัดเจนว่า อย่างน้อยมีเทคนิคการเล่าเรื่องถึง 8 แบบ เพื่อให้เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ จึงขอสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ใน 3 บรรทัด จะได้เอาเวลาไปฝึกเล่ากันครับ Monomyth (Hero’s Journey) เล่าถึงการเดินทางของตัวละคร ที่ออกเดินทางแล้วพบกับประสบการณ์ที่ไม่คุ้นเคย จนได้เรียนรู้ และ หวนกลับคืนมาบอกเล่า ถึงประสบการณ์ทางปัญญา The Mountain คือ การเล่าที่ค่อย […]

ผู้นำกระบวนการ ตอน Recognize : Facilitative Leadership Chapter 4

Facilitative Leadership คือ ภาวะผู้นำที่เกิดจากการประยุกต์ทักษะการนำกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียน สู่ทักษะการบริหารจัดการ เพื่อสร้างการเรียนรู้ระหว่างการทำงานร่วมกันในองค์กร ผ่าน PURE Management Model R : Recognize เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการใน PURE Management Model การให้การยอมรับ ชื่นชมกัน จะช่วยสร้างพื้นที่ปลอดภัย ทุกคนรู้สึกมีคุณค่า เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร รู้สึกมีตัวตน แต่ไม่ปกป้องตัวตน พูดคุยแบบให้ทุกฝ่ายมีที่ยืน ไม่ตัดสินถูกผิดอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ในบรรยากาศสร้างสรรค์ กล้าตัดสินใจ กล้าริเริ่ม เหนี่ยวนำให้เกิดการขยายกรอบความเชื่อ ก้าวเข้าสู่พื้นที่ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เมื่อเรายอมรับชื่นชมกัน (Recognize) ได้ถี่บ่อยกว่าการให้ข้อเสนอแนะ (Feedback) การให้ข้อเสนอแนะก็จะมีคุณภาพ คำพูดของเราจะน่ารับฟัง น่านำไปปฏิบัติ อุปมากล่องของขวัญใบเล็ก ได้วางอยู่บนฐานที่มั่นคง ฐานนั้นต้องกว้างกว่ากล่องของขวัญ กล่องของขวัญ ก็คือ การให้ข้อเสนอแนะ (Feedback) ส่วนฐานนั้น คือ ยอมรับชื่นชมกัน (Recognize) โดยปกติมนุษย์มีธรรมชาติที่จะสนใจในเรื่องเชิงลบ ตามสัญชาตญาณการอยู่รอด เราเรียกอคติเช่นนี้ ว่า […]

ผู้นำกระบวนการ ตอน Update : Facilitative Leadership Chapter 3

Facilitative Leadership คือ ภาวะผู้นำที่เกิดจากการประยุกต์ทักษะการนำกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียน สู่ทักษะการบริหารจัดการ เพื่อสร้างการเรียนรู้ระหว่างการทำงานร่วมกันในองค์กร ผ่าน PURE Management Model U : Update หรือ การปรับปรุงสร้างความเข้าใจให้เป็นปัจจุบัน เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการใน PURE Management Model เพื่อสร้างความเข้าใจในเป้าหมายและวิธีการร่วมกัน ประกอบด้วยทัศนคติเชิงบวก (Positive Outlook) เห็นประโยชน์จากสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว และเห็นความเป็นไปได้ในอนาคต พร้อมให้ข้อเสนอแนะ (Feedback) และใช้การโค้ช (Coaching) เพื่อร่วมกันกระตุ้นความคิด สร้างสรรค์แผนการปฏิบัติงานในก้าวต่อไป แนวทางการปรับปรุงความเข้าใจให้เป็นปัจจบัน (Update) จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อผู้นำได้กำหนดกฎและให้แนวทางกับทีมงานอย่างสมดุล (How to Establish…) มีสติในบทบาทของตนเอง เพื่อใส่ใจและช่วยเหลือทีมงานอย่างเหมาะสม (How to Patronize…) โดยในกระบวนการปรับปรุงความเข้าใจนี้ ผู้นำจำเป็นต้องสร้างความโปร่งใจในการทำงานร่วมกัน สร้างความสัมพันธ์อันดี และสร้างความพร้อมให้กับทีมงาน คลี่คลายความกังวล ความเบื่อหน่าย และ ความสงสัย ผู้นำจำเป็นต้องมีสมาธิอย่างเต็มเปี่ยมและเหนี่ยวนำให้ทีมงานเกิดสมาธิเช่นเดียวกัน เป้าหมายของการปรับปรุงความเข้าใจ คือ การเรียนรู้แลกเปลี่ยน […]

ผู้นำกระบวนการ ตอน Patronize : Facilitative Leadership Chapter 2

Facilitative Leadership คือ ภาวะผู้นำที่เกิดจากการประยุกต์ทักษะการนำกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียน สู่ทักษะการบริหารจัดการ เพื่อสร้างการเรียนรู้ระหว่างการทำงานร่วมกันในองค์กร ผ่าน PURE Management Model P : Patronize เป็นเครื่องมือการบริหารจัดการใน PURE Management Model โดยเริ่มต้นจากการอุปถัมภ์ค้ำจุน ให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น จนในที่สุด ค่อยๆ ลดการให้การอุปถัมภ์ค้ำจุนจากภายนอก แต่ยังคงการเชื่อมโยงถึงกันผ่านความเข้าใจ ให้โอกาสทีมงานได้สร้างสรรค์ทางเลือก ฝึกฝน และ ลองทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง (Empower) ได้เห็นผลตามจริงในงาน ซึ่งไม่ใช่ผลจากรางวัล หรือการลงโทษ เพื่อยกระดับความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นจากภายในจิตใจ (Responsibility) อุปมาเหมือนการฝึกขี่จักยานด้วยการมีล้อเสริม ค้ำยันซ้ายขวา เพื่อช่วยในการทรงตัว เราจะใช้เพียงชั่วคราว และจะดีใจมาก เมื่อสามารถนำล้อเสริมเล็กๆ ออกไปได้ แม้เด็กๆ จะล้มลงบ้างก็คือการเรียนรู้ที่สำคัญ เฉกเช่นเดียวกับการมอบหมายงานใหม่ๆ เราต้องหลบฉาก แล้วให้ทีมงานขึ้นมาโดดเด่นที่หน้าฉาก เมื่อเราเป็นคนดูละครที่ไม่ได้เล่นเอง เราอาจรู้สึกอึดอัดจากการดำเนินการที่ช้าไป หรือเร็วเกินไป เราอยากจะเป็นผู้กำกับหนังที่เปลี่ยนบทตลอดเวลา ซึ่งนั่นใช้ไม่ได้กับละครชีวิต ที่ต้องเล่นสดๆ การขัดจังหวะระหว่างทาง รบกวนการเรียนรู้ และสร้างความหวาดผวาให้กับทีมงาน […]

ผู้นำกระบวนการ ตอน Establish : Facilitative Leadership Chapter 1

Facilitative Leadership คือ ภาวะผู้นำที่เกิดจากการประยุกต์ทักษะการนำกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียน สู่ทักษะการบริหารจัดการ เพื่อสร้างการเรียนรู้ระหว่างการทำงานร่วมกันในองค์กร ผ่าน PURE Management Model E: Establish เป็นเครื่องมือการบริหารจัดการใน PURE Management Model เพื่อแจ้งข้อกำหนดที่จำเป็นขององค์กร ให้ทุกคนได้รับรู้และสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นเมื่อเจอสถานการณ์ต่างๆ เป็นศิลปะการบริหารจัดการความคาดหวัง (Expectation Management) เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างกฎ (Rule) ที่ตายตัว และแนวทาง (Guideline) ที่ยืดหยุ่นได้ โดยคำนึงถึงวัฒนธรรมองค์กร และพื้นฐานของทีมงาน การเริ่มต้นโครงการใหม่ หรือการมีทีมงานเข้ามาใหม่ เราอาจเกรงใจที่จะแจ้งระเบียบข้อตกลงทั้งหมดให้เขาทราบ เพราะเกรงว่าจะเป็นการไปบังคับกะเกณฑ์ ลดทอนความสัมพันธ์ แต่หากเราไม่แจ้งตั้งแต่เนิ่นๆ แล้วชี้บอกสอนตลอดเวลา ก็จะกลายเป็นการจำกัดความสร้างสรรค์ ทำลายการนำพาตนเองของทีมงาน เพราะต้องระแวดระวังว่าจะทำอะไรผิดไปหรือเปล่า ครั้นจะสังเกตคนเก่าว่าทำงานอย่างไร ก็ไม่แน่ใจว่าส่วนไหนเป็นมาตรฐาน ส่วนไหนหย่อนกว่ามาตรฐาน ในฐานะผู้นำ เรามีหน้าที่กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นต่อทีมงานให้เพียงพอตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยทัศนคติที่ว่า การให้ข้อมูลเบื้องต้น ช่วยให้ทีมงานตัดสินใจได้ดีขึ้น เมื่อเผชิญกับสถานการณ์หน้างาน เราอาจตั้งต้นร่วมกันโดยการถามว่า “ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับคุณ คือ…” “สิ่งที่ผมจะทำเพื่อคุณได้ คือ…” “สิ่งที่เราคาดหวังให้คุณทำ คือ…” […]

เตรียมคนให้พร้อมก่อนติดตั้ง OKRs : Facilitative Leadership for OKRs

หลายองค์กรในปัจจุบัน กำลังหันมาให้ความสำคัญกับการยกระดับการทำงานร่วมกันในองค์กร ผ่านการสื่อสารที่ให้ความสำคัญในกระบวนการ (How) มากขึ้น มีความต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีความโปร่งใส เพิ่มการบริหารจัดการตนเอง เพื่อลดการบริหารจัดการแบบมุ่งควบคุมผลลัพธ์ เปิดพื้นที่แห่งความไว้วางใจ (Trust) ให้เกิดการกล้าตัดสินใจ และ ยกระดับความรับผิดชอบของพนักงาน ผ่านการสร้างแรงจูงใจจากภายในจิตใจของตนเอง ด้วยทิศทางนี้ การบริหารจัดการด้าน Hard Side สมัยใหม่ จึงได้รับการพัฒนาด้วยทิศทางที่โน้มเชื่อมเข้าหา Soft Side เชื่อมประสิทธิผลของงานเข้ากับความเป็นอยู่ของคน สังเกตได้จากแนวคิดการบริหารงานแบบใหม่ ๆ เช่น Holacracy, Agile และ OKRs (Objective and Key Results) ต่างให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมองค์กรที่พร้อม อันเกิดจากการบ่มเพาะทาง Soft Side มาก่อน ถ้าผู้นำพร้อม บุคลากรในองค์กรจะกล้าตั้งเป้าหมายที่สูง ด้วยความรู้สึกสนุก พร้อมรับความท้าทาย กล้าลงมือทำ ในแบบที่ไม่กลัวการถูกจับผิด แก่นสารสำคัญสำหรับภาวะผู้นำกระบวนการ (Facilitattive Leadership) คือ การให้โอกาสทีมงานได้สร้างสรรค์ทางเลือก และลองทำด้วยตนเอง เพื่อให้เขาได้เห็นผลตามจริงในงาน ซึ่งไม่ใช่รางวัล หรือ การลงโทษ […]

5 ระดับแห่งภาวะผู้นำ : The Five Levels of Leadership

ผู้บริหาร โค้ชกีฬา ครูในชั้นเรียน ผู้นำกิจกรรม ผู้ปกครอง ล้วนแล้วแต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ การเป็นผู้นำ เพียงแต่ว่าเรามีภาวะผู็นำเพียงแค่ไหน และ จะพัฒนาต่อไปได้อย่างไร คำถามนี้ เป็นสิ่งที่เราทุกคนก็คงอยากรู้เช่นเดียวกัน นั่นจึงเป็นที่มาของการพัฒนาแนวคิดเรื่อง 5 ระดับแห่งภาวะผู้นำ (The 5 Levels of Leadership) เพื่อช่วยให้ผู้นำได้เข้าใจ และ เพิ่มประสิทธิผลแห่งภาวะผู้นำ การทราบภาพรวมของเรื่องนี้จะช่วยย้ำเตือนให้เรายังคงอยู่บนทางแห่งผู้นำ ดังมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ THE 5 LEVELS OF LEADERSHIP 1 ) Position – Right เมื่อเราเป็นผู้นำตามตำแหน่ง และ ใช้การนำด้วยอำนาจ (Authority) เขาจะสนใจทำตามเรา เพราะเขาจำเป็นต้องทำ (People follow because of they have to) เป็นขั้นต่ำสุดของภาวะผู้นำ เป็นขั้นเริ่มต้น ถ้าเราเป็นผู้นำเพียงเพราะตำแหน่ง ไม่มีความสามารถหรือความพยายามที่จะบรรลุผลสำเร็จใดๆ นอกจากเพียงการใช้อำนาจขู่ให้กลัว หรือ จ่ายเงินจ่างให้ทำ […]

HRBP สร้างคุณค่าเพื่อความสำเร็จขององค์กร: Human Resources Business Partner

HRBP ย่อมาจาก Human Resource Business Partner เป็นตำแหน่งงานที่ทำหน้าที่เปิดรับมุมมองจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลูกค้าภายนอกองค์กร นักลงทุน รวมถึงชุมชนแวดล้อม เพื่อสร้างคุณค่าให้บุคลากรและองค์กร อันจะนำไปสู่การประสบความสำเร็จในตลาด ผู้ที่ทำงานในตำแหน่ง HRBP จำเป็นต้องมีความเข้าใจในงานอย่างหลากหลาย ทั้งด้านการพัฒนาธุรกิจ, ด้านการตลาด, ด้านการเงิน, ด้านเทคโนโลยี และด้าน HR เป็นต้น ผู้ที่ทำงานตำแหน่ง HRBP จึงไม่จำเป็นต้องทำงานด้าน HR มาก่อน โดยหากเป็นผู้ที่ทำงานด้านการตลาดมาก่อน ก็จะเกื้อหนุนการทำงานในตำแหน่ง HRBP เป็นอย่างดี เนื่องจากมีความเข้าใจในลูกค้า หรือหากเป็นผู้ที่เข้าใจธุรกิจมาก่อน ก็จะเกื้อหนุนการทำงานในตำแหน่ง HRBP ได้อย่างดีเช่นกัน เนื่องจากคุ้นเคยกับการมองภาพใหญ่ทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร แต่อย่างไรก็ตาม HRBP ที่ไม่เคยทำงานด้าน HR มาก่อน จำเป็นต้องขวนขวายใกล้ชิด กับผู้เชี่ยวชาญทางด้าน HR เพื่อเปิดรับมุมมองและประสบการณ์ในงานด้าน HR อยู่เสมอ นอกจากนี้ HRBP ยังอาจหมายถึง บุคลากรที่ทำงานด้าน HR อยู่เดิม […]