Category Archives: 02 Self-management

1. Self-control
Emotional triggers in the workplace
2. Self-motivation and goal setting
3. Adaptability
4. Transparency
Your team will trust you and work more effectively.

รันกระบวนการ งานกระบวนกร : run wisdom process

กระบวนกร (facilitator) คือ ผู้อำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ในขณะที่ กระบวนกรแบบจิตตปัญญา (contemplative facilitator) คือ ผู้นำพากระบวนการเรียนรู้ เหนี่ยวนำให้เกิดการค้นพบสรรพวิชาจากด้านใน เกิดการก้าวพ้นข้อจำกัด ขยับขยายพื้นที่ของจิตใจ โดยที่สุดแล้ว กระบวนกร คือ ผู้นำพาให้เกิดชุมชนที่ทุกคนฝึกปฏิบัติร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ (community of practice) งานเขียนนี้ ผู้เขียนได้ตกผลึกกระบวนท่าพื้นฐานสำหรับการรันกระบวนการ จากประสบการณ์ตรงในการเป็นกระบวนกรแบบจิตตปัญญา (contemplative facilitator) แบ่งกระบวนการ ออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ รู้ (comprehension) ละ (abandonment) เห็น (realization) และ ทำ (practices) RUN WISDOM PROCESS หนึ่ง) รู้ : comprehension สร้างพื้นที่ปลอดภัย มีชุมชนแห่งความกรุณา (compassionate community) โอบรับการเรียนรู้ จากนั้นนำพาผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ หรือ ประสบการณ์ใหม่ๆ เผชิญความไม่คุ้นชิน ที่พอเหมาะพอดี […]

บวชเป็นพระซะทีดีมั๊ย : wholesome thoughts

แบ่งปันประสบการณ์เมื่อ 3 ปีก่อน ที่เคยได้มีโอกาสบวชเรียน ในโครงการอุปสมบทพระสงฆ์ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ปี 2556 โดย ยุวพุทธิกสมาคม แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระวิปัสสนาจารย์ จำพรรษาที่ยุวพุทธฯ ศูนย์ 4 ต.บ้านซุ้ง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับนามทางธรรมว่า “ธีรัญญ์ สุธโร” งานเขียนนี้ เขียนขึ้นจากคำเชิญชวนของพี่ “ปรีชา แสนเขียว” จากยุวพุทธิกสมาคมฯ พี่ปรีชาเชิญชวนให้เขียนแบ่งปันเรื่องราว ว่าได้อะไรจากการเข้าร่วมโครงการอุปสมบทปฏิบัติธรรมจำพรรษา เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้สนใจบวชในรุ่นปี 59 และ รุ่นต่อๆ ไป เมื่อเขียนเสร็จแล้วรู้สึกว่า งานเขียนนี้จะเป็นแรงบันดาลใจกับทุกคนที่ได้อ่าน กระตุ้นความคิดดีๆ (wholesome thoughts) ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งด้วยครับ การบวชเรียน มีประโยชน์ต่อชีวิตอย่างไร ? 1. สงบเบา คล่องตัว (thought free from selfish […]

โอกาสทองในชีวิตประจำวัน : all embracing wisdom

ในวิถีชีวิตที่เร่งรีบ เราได้แยกการฝึกฝนสติ (mindfulness practice) ออกจากเวลางาน เรามุ่งมั่นทำงานด้วยความรวดเร็ว ว่องไว เพื่อการบรรลุเป้าหมายในการงาน แล้วพยายามจะฝึกฝนสติในเวลาที่ได้พักจากการทำงานจริงๆ หรือ บางคนอาจกำลังวางแผนการฝึกฝนสติเอาไว้เป็นกิจกรรมที่จะทำในช่วงวัยเกษียณ เหล่านี้คือ ความเข้าใจที่อาจจะทำให้พลาดโอกาสทอง ในการค้นพบความอัศจรรย์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ และ ประโยชน์อันมากมายมหาศาลจากการมีสติระหว่างวัน การมีสติระหว่างวัน คือ การระลึกรู้ถึงการมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน สามารถหล่อเลี้ยงความคิด คำพูด และ การกระทำให้อยู่บนหนทางสู่เป้าหมาย โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น สามารถรับรู้ถึงผู้คน และ ธรรมชาติรอบตัวได้อย่างสดใหม่เป็นปัจจุบัน เกิดความสัมพันธ์ที่ดี การมีสติช่วยให้ประกอบการงานได้สำเร็จด้วยชีวิตที่เป็นสุข ค้นพบโอกาสทอง ในขณะที่จิตใจของเราปั่นป่วนเรามักจะกระทำการต่างๆออกไปอย่างไม่รู้ตัว การหล่อเลี้ยงสติระหว่างวัน จะทำให้เราได้ค้นพบโอกาสทอง นั่นคือ โอกาสที่จะได้สัมผัสถึงจิตใจของตัวเองอย่างรู้สึกตัว เช่น รู้สึกได้ถึงความบีบคั้นภายในจิตใจของตัวเอง อาจเพราะกำลังไม่เห็นด้วยต่อบางเรื่องราว เมื่อสัมผัสได้ถึงอารมณ์ของตนเองอย่างรู้สึกตัว ภาพสิ่งต่างๆใกล้ๆตัวที่เคยเบลอหายไป จะกลับมาแจ่มชัดอีกครั้ง เรามักคิดว่าอาการปั่นป่วนภายในจิตใจนี้ เกิดจากเรื่องราวภายนอก เกิดจากคนอื่นกระทำบางอย่างไม่ถูกต้อง แต่แท้จริงแล้ว เรื่องราวภายนอกยังคงเป็นเรื่องราวภายนอก แต่อาการปั่นป่วนภายในจิตใจเรานั้น เกิดจากข้อจำกัดของเราเอง ข้อจำกัดของเราอาจทำให้เราออกอาการกระสับกระส่ายเป็นทุกข์ การรับรู้เท่าทันอาการปั่นป่วนนี้ คือ การค้นพบโอกาสทอง ในโอกาสทองนั้นมีขุมทรัพย์รอเราอยู่ เราไม่ควรจะปล่อยให้โอกาสทองหลุดลอยไป เราสามารถเข้าสู่แบบฝึกหัดต่อไปนี้ เพื่อค้นพบประโยชน์อันอัศจรรย์จากการมีสติระหว่างวัน 7 ขั้นตอนการแปรเปลี่ยน ความปั่นป่วนภายในจิตใจ สู่ความปกติสุขด้วยตัวเอง […]

กุศโลบายคลายทุกข์ : no mud no lotus

“ชีวิตนั้นเต็มไปด้วยความทุกข์ แต่มันก็ยังประกอบด้วยสิ่งอัศจรรย์มากมาย หากเธอปรารถนาที่จะสัมผัสกับความอัศจรรย์แห่งชีวิต จงกลับมาสู่ปัจจุบันขณะ – Thich Nhat Hanh”  ความสุขอันอัศจรรย์นั้นมีอยู่แล้ว ในโลกแห่งปัจจุบันขณะ เพียงแต่ความคิดของเรา ทำให้เราติดอยู่ในโลกแห่งอดีตที่ผ่านไปแล้ว หรือไม่ ก็ล่องลอยไปในโลกแห่งอนาคต ดูผิวเผินเหมือนว่าความคิดนำพาเราไป แต่แท้จริงแล้วตัวเรานั่นเองที่กระโจนลงสู่กระแสแห่งความคิด กีดกันไม่ปล่อยให้กระแสความคิดได้ไหลผ่านไป และ ความคิดนี่เองที่นำมาสู่ความทุกข์ในชีวิตประจำวันของเรา ผู้เขียนจึงขอเสนอ “กุศโลบายคลายทุกข์” ตามเหตุแห่งทุกข์ (the cause of suffering) ได้แก่ ความอยาก (craving) ความยึด (attachment) ภาวะชีวิต (becoming) กุศโลบายคลายทุกข์ คือ การเข้าไปทราบถึงเหตุแห่งความทุกข์ แล้วเลือกใช้กุศโลบายที่เหมาะสม เพื่อนำพาชีวิตให้กลับคืนสู่สมดุล เกิดความรู้สึกที่โล่งสบาย เป็นอิสระจากความคิดที่ทำให้เกิดทุกข์ งานเขียนนี้ นอกจากจะนำเสนอกุศโลบายคลายทุกข์เป็นแนวคิดสั้นๆ ยังขยายความด้วยกระบวนการสำหรับงานกระบวนกรด้วย รายละเอียด ดังต่อไปนี้เลย 1. ทุกข์เพราะอยาก (craving) เรื่องราวความทุกข์ที่พัวพันกับสิ่งภายนอก ประมาณว่าอยากได้มาแต่ยังไม่ได้ อยากผลักไสออกไปแต่ก็ยังทำไม่สำเร็จ ทำให้เกิดเป็นความคิดฟุ้งซ่าน สับสน ไร้ทิศทางที่ชัดเจน ศักยภาพความคิดอ่อนกำลัง กระบวนการด้านเหตุผลอ่อนกำลัง ทำให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล ควานหาเป้าหมายไม่เจอ แก้ปัญหาได้ไม่ตรงจุด ไม่รู้ข้อดีของตัวเอง เป้าหมายไม่ชัดเจน […]

การสื่อสารภายในองค์กร : Open Mind Open Heart Open Will

การได้ร่วมทีมกระบวนกร ในคอร์สกระบวนกรพื้นฐาน 3 วัน กับอาใหญ่ วิศิษฐ์ วังวิญญู ตั้งแต่วันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2559 ส่งผลต่อพัฒนาการทักษะการเป็นกระบวนกรของตัวเอง ในส่วนงานที่จะสามารถเข้าไปพัฒนาการสื่อสาร ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นให้กับบุคลากรภายในองค์กร งานเขียนนี้เกิดจากการวิเคราะห์ เรื่องราวใน Workshop ผสมเข้ากับ การนำทฤษฎีอื่นๆ มาสังเคราะห์ประกอบต่อยอด เพื่อการเรียนรู้ การสื่อสารด้วยใจ อาจคือ ประสบการณ์ที่เลือนหายไปจากผู้คนในองค์กร เมื่อข้ามขอบสัมผัสถึงประสบการณ์ใหม่ ในการสื่อสารกันแบบตรงมาตรงไป ทำให้สะท้อนย้อนคลี่คลายถึงปมเล็กๆ ภายในของแต่ละคนเองได้ด้วย ก่อเกิดการเริ่มต้นใหม่ในมุมคิด พฤติกรรม และ วัฒนธรรมแห่งการสื่อสารภายในองค์กร กิจกรรมพูดเปิดใจแบบตรงมาตรงไปสำเร็จลุล่วงได้หรือไม่ อาจสังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นภายหลังกิจกรรม ผู้คนในองค์กรข้ามขอบเดิมๆ สามารถสื่อสารกันอย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นภายในองค์กร หรือ เพียงย้อนกลับเก็บงำความคิดตัดสิน สู่ความคุ้นชินเดิมๆ หลักสูตร กระบวนกรพื้นฐาน 3 วัน (3-5 ก.พ. 59) ปัจจัยที่เกื้อหนุนต่อความสำเร็จในกิจกรรมพูดเปิดใจ อาจประกอบด้วยการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) ผ่านพ้นการฟังแบบตัดสิน (I-in-me) สู่การฟังในอีก 3 ระดับ […]

จินตนาการข้ามขอบ : mental rehearsal

การซักซ้อมในจินตนาการ (mental rehearsal) คือ การจินตนาการเห็นภาพตัวเราเอง ในพฤติกรรมใหม่ๆ เช่น ออกกำลังกายยามเช้า ซ้อมกีฬาอย่างมีวินัย หรือ สามารถพูดต่อหน้าคนจำนวนมากได้อย่างมั่นใจ การซักซ้อมในจินตนาการ ช่วยรื้อสร้างพฤติกรรมที่เคยคุ้น โดยเข้าไปรื้อระบบสมองตอบโต้อัตโนมัติที่บันทึกอยู่ภายในสมองชั้นใน (reptilian brain) หรือ ก้านสมอง (core brain) เพื่อเขียนระบบสมองตอบโต้อัตโนมัติชุดใหม่ ที่มีคุณภาพมากขึ้นตามที่มุ่งมั่นตั้งใจ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในโลกความจริง พฤติกรรมหลายสิ่งอย่างที่มนุษย์ทำไปด้วยระบบสมองตอบโต้อัตโนมัติ เช่น การเขียนปี พ.ศ. ซ้ำๆ จนคุ้นชิน ทำให้เราเขียนปี พ.ศ. ออกมาต่อจากวันที่ และ เดือน โดยไม่ต้องใช้ความคิด ไม่ต้องกลัวว่าจะผิด พอข้ามจากปีเก่า เข้าสู่ปีใหม่ เรามักยังคงคุ้นเคย กับการเขียนปี พ.ศ. ของปีก่อน ทำให้เกิดความผิดพลาดในการเขียนโดยไม่รู้ตัวว่าผิดด้วยซ้ำ เรียกขั้นนี้ว่า การไม่รู้ว่าเราไม่สามารถ (unconsciously unskilled) แต่เมื่อรู้ตัวว่าผิด ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเมื่อมีเพื่อนมาทักบอกให้แก้ หรือ เราอาจจะสังเกตพบข้อบกพร่อง แปลกแยกจากผู้อื่นด้วยตัวเอง เรียกขั้นตอนนี้ว่า การรู้ว่าเราไม่สามารถ (consciously unskilled) […]

กระบวนกรสัญจร ล่องแดนใต้ : Facilitator workshop in the south of Thailand.

เริ่มต้นปี 2559 ด้วยการติดตาม ร่วมทีม FA (Facilitator) กับอาใหญ่ วิศิษฐ์ วังวิญญู เดินทางล่องใต้กับ 2 Workshop ติดต่อกัน ได้รับประสบการณ์ และ ได้เรียนรู้วิถีแห่งกระบวนกร ทั้งใน Workshop และ นอกเวลา Workshop อาใหญ่เปิดให้ทีม FA ร่วมคิดวางแผนกระบวนการสอนอยู่ทุกระยะ ระหว่างช่วงพักในแต่ละวัน และ ระหว่างมื้ออาหาร เช้า กลางวัน เย็น และ รอบค่ำด้วย ขอบอกเล่าประสบการณ์การเรียนรู้ใน Workshop แรก คืนสู่ความเป็นเลิศ โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร ในองค์กรการศึกษาแห่งหนึ่ง เป็นเวลา 3 วัน (4-6 มกราคม 2559) ดังต่อไปนี้ครับ Workshop คืนสู่ความเป็นเลิศ วันที่ 1  (4 มกราคม 2559) ช่วงเช้า : หลังจากการ […]

ผู้นำตามสภาวการณ์ : situational leadership

การเคลื่อนที่จากบทบาทหนึ่ง สู่อีกบทบาทหนึ่งอย่างเหมาะสม เช่น เคลื่อนที่จากการเป็นผู้นำในที่ทำงาน สู่การเป็นคุณพ่อในบ้าน เคลื่อนที่จากการเป็นผู้เชี่ยวชาญ สู่การเป็นนักเรียนรู้ที่สดใหม่ เคลื่อนที่จากการเป็นนักพูด สู่การเป็นผู้ฟังที่ปราศจากความอยากพูด นอกจากต้องฝึกฝนทักษะในบทบาทนั้นๆให้ได้อย่างดีแล้ว เราอาจจำเป็นต้องเรียนรู้ ศิลปะแห่งการแปรเปลี่ยนบทบาท จะทำอย่างไรให้สามารถเคลื่อนย้ายออกจากตัวตนเดิม ไปสู่ตัวตนใหม่ ได้แบบพริ้วไหวไร้เงา เท่าทันห้วงเวลาแห่งปัจจุบันขณะ ศิลปะการเคลื่อนย้ายตัวตน การเชื่อแบบเดิมๆ ว่าเราเป็นคนแบบนี้ จะพูดจาแบบนี้ล่ะ คิดว่าตัวเองเปลี่ยนแปลงไม่ได้แล้ว จะทำให้เราจมจ่อม อยู่ในบุคลิกภาพแบบเดิมๆ พบปัญหาแบบเดิมๆ ซ้ำๆ กระทำสิ่งต่างๆด้วยวงจรสมองอัตโนมัติ ตราบเมื่อค้นพบตัวตนหลักของตัวเอง แล้วยอมรับ จนสามารถถอดถอนตัวตนเดิมๆได้ ก็จะสามารถย้ายไปสู่ตัวตนใหม่ๆ พัฒนาบุคลิกภาพแบบใหม่ๆ มากขึ้นๆ ทีละเล็กทีละน้อย เกิดเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และ สังคม ศักยภาพแห่งชีวิตเปิดกว้าง สามารถสวมตัวตนหนึ่ง ณ ขณะหนึ่ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ยึดมั่นในการเป็นตัวตนใดๆ อย่าฝั่ง chip ว่าเราทำได้เพียงเท่าที่มีใครบอก อย่ายึดติดกับเป้าหมายในวัยเด็ก ที่เราเคยถูกถามว่า “โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไรจ๊ะ” เราสามารถขยับขยายความฝันของเราให้เหมาะสมมากขึ้นได้ เมื่อเราเติบโต ได้เห็นโลกที่กว้างใหญ่มากขึ้น มนุษย์สามารถเป็นได้ทุกอย่าง สำเร็จได้ในทุกสิ่งที่ต้องการ ตามวิสัยทัศน์ที่สัมผัสได้ถึง จักรวาลยังคงเคลื่อนไหว ธรรมชาติแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ และ เราสามารถเคลื่อนย้ายตัวตนได้ นอกจากนี้ การพัฒนาศิลปะแห่งการเคลื่อนย้ายตัวตน เป็นปัจจัยสำคัญช่วยส่งเสริม วุฒิภาวะแห่งสัตบุรุษ […]

เล่าเรื่องย่อจิตตนคร ในงานวัดลอยฟ้า จิตตนคร : mind city

วันที่ 3 – 7 เมษายน 2557 หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ธรรมภาคี สวนโมกข์ กรุงเทพฯ องค์กรทางพระพุทธศาสนามากมาย ได้ร่วมกันจัดมหกรรมงานวัด (temple fair) กลางกรุง บนห้างสรรพสินค้า สยาม พารากอน ชื่องานว่า งานวัดลอยฟ้า จิตตนคร ในงานนี้ ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าไปรับใช้พระพุทธศาสนาด้วยการเล่าเรื่องย่อ จิตตนคร นครหลวงของโลก พระนิพนธ์ ใน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก* ให้กับผู้ที่มาร่วมชมงาน ที่สนใจ รับรู้เรื่องราวในพระนิพนธ์ แบบพอสังเขป ในแบบสนุกสนาน เข้าใจง่ายๆ ภายในเวลา 20-30 นาที จิตตนคร เป็นนครหลวงของโลก เป็นแหล่งเกิดแห่งสุข ทุกข์ ความเจริญ ความเสื่อม สมบัติ และ วิบัติแห่งโลกทั้งสิ้น เป็นเมืองลับแล ไม่เห็นด้วยตาเนื้อ แต่เห็นได้ด้วยตาใจ เมื่อทำความสงบจิตดู เหตุการณ์สำคัญ ในวันปีใหม่ […]