Category Archives: 03 Social Awareness

1. Empathy
The ability to understand and share the feelings of another.
Using empathy leads to more effective communication.
2. Organisational awareness
Knowing what is going on in the bigger picture.
3. Service orientation and positive approach
Find out the needs of others so you can provide them with the appropriate response.

องค์กรสีเทอร์ควอยซ์ : turquoise organization

ผู้เขียนได้ศึกษาเรื่องราวขององค์กรสีเทอร์ควอยซ์ครั้งแรกกับ อ.วิศิษฐ์ วังวิญญู และ จากหนังสือ Reinventing Organizations โดย Frederic Laloux จึงจะได้ขอบันทึกไว้ในงานเขียนนี้ในช่วงต้น และ ในช่วงท้ายจะได้แบ่งปันประสบการณ์ตรง ที่ผู้เขียนเคยบริหารจัดการธุรกิจด้วยรูปแบบที่นอกกรอบ และ ไปสอดคล้องเข้ากับความเป็นองค์กรสีเทอร์ควอยซ์ค่อนข้างมากโดยบังเอิญ หลัก 3 ประการ ขององค์กรสีเทอร์ควอยซ์ เป็นองค์กรแบบจัดการตนเอง (self organizing system) เปิดโอกาสให้ทุกคน แม้เป็นคนรุ่นใหม่ประสบการณ์น้อย สามารถริเริ่มรังสรรค์ โครงการใหม่ๆ ได้ (pilot project) รวมถึงมีอำนาจในการบริหารจัดการ และ ตัดสินใจได้เอง ถือว่าเป็นโครงงานวิจัยและพัฒนาขององค์กร (research and development) คนในองค์กรดูแลซึ่งกันและกันอย่างรอบด้าน ทั้งชีวิตการงาน และ ชีวิตครอบครัว ใส่ใจสุขภาพร่างกาย จิตใจ และ ความสัมพันธ์ของพนักงานภายในองค์กร บ่มเพาะพัฒนาคน ให้เติบโตจากภายในอย่างเป็นธรรมชาติ (จิตตปัญญา) ด้วยเวลาที่เหมาะสม สั่งสมบารมี มีวุฒิภาวะแห่งสัตบุรุษ (eldership) ที่มากกว่าแค่การเป็นผู้นำตามตำแหน่ง องค์กรสีเทอร์ควอยซ์ ขับเคลื่อนด้วย […]

พัฒนาชีวิตจากภายใน : fist of the north star

ว่าด้วยเรื่องการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ ในปี 1906 เราตื่นเต้นกับ IQ และ พยายายามจะพัฒนามัน ปัจจุบันเราพบว่า IQ อาจช่วยให้มนุษย์พบกับความสำเร็จในการงานได้เพียง 1-20% เท่านั้น ต่อมาในปี 1983 เราพบว่าอัจฉริยะมีหลากหลายสาขา เรียกว่า ทฤษฎีพหุปัญญา (multiple intelligence theory) เราจึงพยายามค้นหาความสามารถพิเศษ แล้วเน้นพัฒนาชีวิตให้สุดยอดในด้านใดด้านหนึ่ง ปัจจุบัน ความหลากหลายทางปัญญานั้น ได้เพิ่มมากขึ้น และ มีทีท่าว่าจะเพิ่มมากขึ้นๆ จนทำให้เราไม่สามารถยึดทฤษฎีนี้มาเป็นแก่นแกนในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้ครอบคลุมกับทุกคนได้ และ การเก่งสุดๆเพียงด้านใดด้านหนึ่งอาจทำให้ชีวิตขาดสมดุลได้ ต่อมาในปี 1990 เราเริ่มต้นพัฒนาการเรียนรู้บนรากฐานของสมองตามช่วงวัย (brain based learning) ปัจจุบัน เริ่มค้นพบว่าสมองไม่ใช่ศูนย์กลางของปัญญาในทุกๆด้าน ปัญญาที่แท้จริงนั้น อาจอยู่นอกเหนือการควบคุมของสมอง ต่อมาในปี 1995 เราพบว่า EQ เจ๋งกว่า IQ กล่าวคือ ผู้มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี มีโอกาสประสบความสำเร็จทางการงานสูงถึง 27-45% เลยทีเดียว ภายหลังปี 2000 ยังมีทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ ออกมาให้เราตื่นเต้นอีกมากมาย ทฤษฏีการเรียนรู้ใหม่ๆ ยังคงเกิดขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปบางเสี้ยวส่วนของทฤษฎีนั้นก็ถูกลดความสำคัญลงไป […]

บวชเป็นพระซะทีดีมั๊ย : wholesome thoughts

แบ่งปันประสบการณ์เมื่อ 3 ปีก่อน ที่เคยได้มีโอกาสบวชเรียน ในโครงการอุปสมบทพระสงฆ์ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ปี 2556 โดย ยุวพุทธิกสมาคม แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระวิปัสสนาจารย์ จำพรรษาที่ยุวพุทธฯ ศูนย์ 4 ต.บ้านซุ้ง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับนามทางธรรมว่า “ธีรัญญ์ สุธโร” งานเขียนนี้ เขียนขึ้นจากคำเชิญชวนของพี่ “ปรีชา แสนเขียว” จากยุวพุทธิกสมาคมฯ พี่ปรีชาเชิญชวนให้เขียนแบ่งปันเรื่องราว ว่าได้อะไรจากการเข้าร่วมโครงการอุปสมบทปฏิบัติธรรมจำพรรษา เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้สนใจบวชในรุ่นปี 59 และ รุ่นต่อๆ ไป เมื่อเขียนเสร็จแล้วรู้สึกว่า งานเขียนนี้จะเป็นแรงบันดาลใจกับทุกคนที่ได้อ่าน กระตุ้นความคิดดีๆ (wholesome thoughts) ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งด้วยครับ การบวชเรียน มีประโยชน์ต่อชีวิตอย่างไร ? 1. สงบเบา คล่องตัว (thought free from selfish […]

โอกาสทองในชีวิตประจำวัน : all embracing wisdom

ในวิถีชีวิตที่เร่งรีบ เราได้แยกการฝึกฝนสติ (mindfulness practice) ออกจากเวลางาน เรามุ่งมั่นทำงานด้วยความรวดเร็ว ว่องไว เพื่อการบรรลุเป้าหมายในการงาน แล้วพยายามจะฝึกฝนสติในเวลาที่ได้พักจากการทำงานจริงๆ หรือ บางคนอาจกำลังวางแผนการฝึกฝนสติเอาไว้เป็นกิจกรรมที่จะทำในช่วงวัยเกษียณ เหล่านี้คือ ความเข้าใจที่อาจจะทำให้พลาดโอกาสทอง ในการค้นพบความอัศจรรย์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ และ ประโยชน์อันมากมายมหาศาลจากการมีสติระหว่างวัน การมีสติระหว่างวัน คือ การระลึกรู้ถึงการมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน สามารถหล่อเลี้ยงความคิด คำพูด และ การกระทำให้อยู่บนหนทางสู่เป้าหมาย โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น สามารถรับรู้ถึงผู้คน และ ธรรมชาติรอบตัวได้อย่างสดใหม่เป็นปัจจุบัน เกิดความสัมพันธ์ที่ดี การมีสติช่วยให้ประกอบการงานได้สำเร็จด้วยชีวิตที่เป็นสุข ค้นพบโอกาสทอง ในขณะที่จิตใจของเราปั่นป่วนเรามักจะกระทำการต่างๆออกไปอย่างไม่รู้ตัว การหล่อเลี้ยงสติระหว่างวัน จะทำให้เราได้ค้นพบโอกาสทอง นั่นคือ โอกาสที่จะได้สัมผัสถึงจิตใจของตัวเองอย่างรู้สึกตัว เช่น รู้สึกได้ถึงความบีบคั้นภายในจิตใจของตัวเอง อาจเพราะกำลังไม่เห็นด้วยต่อบางเรื่องราว เมื่อสัมผัสได้ถึงอารมณ์ของตนเองอย่างรู้สึกตัว ภาพสิ่งต่างๆใกล้ๆตัวที่เคยเบลอหายไป จะกลับมาแจ่มชัดอีกครั้ง เรามักคิดว่าอาการปั่นป่วนภายในจิตใจนี้ เกิดจากเรื่องราวภายนอก เกิดจากคนอื่นกระทำบางอย่างไม่ถูกต้อง แต่แท้จริงแล้ว เรื่องราวภายนอกยังคงเป็นเรื่องราวภายนอก แต่อาการปั่นป่วนภายในจิตใจเรานั้น เกิดจากข้อจำกัดของเราเอง ข้อจำกัดของเราอาจทำให้เราออกอาการกระสับกระส่ายเป็นทุกข์ การรับรู้เท่าทันอาการปั่นป่วนนี้ คือ การค้นพบโอกาสทอง ในโอกาสทองนั้นมีขุมทรัพย์รอเราอยู่ เราไม่ควรจะปล่อยให้โอกาสทองหลุดลอยไป เราสามารถเข้าสู่แบบฝึกหัดต่อไปนี้ เพื่อค้นพบประโยชน์อันอัศจรรย์จากการมีสติระหว่างวัน 7 ขั้นตอนการแปรเปลี่ยน ความปั่นป่วนภายในจิตใจ สู่ความปกติสุขด้วยตัวเอง […]

กระบวนกร สะท้อนธรรม สำหรับโค้ช: The Art of Living

งานครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมมีทักษะการโค้ช การฟัง และ พื้นฐานของสติที่ดี ซึ่งเกื้อหนุนให้เกิดการสะท้อนร่วมกัน เกิดเป็นวงสนทนาแห่งสติได้ไม่ยาก การให้ห้องเรียนแรก คือ ตัวของผู้เรียนเอง จึงทำให้การเรียนรู้ลงสู่ฐานใจได้ง่าย บวกกับการเชื้อเชิญให้ผู้เรียนเป็นมิตรกับความเงียบด้วยถ้อยคำว่า “เราคือส่วนหนึ่งของความเงียบ” ได้ช่วยลดการครุ่นคิดแบ่งแยกในระหว่างความเงียบ ผู้เรียนจึงดำรงอยู่ในความเงียบ ได้แบบลื่นไหล เป็นช่วงเวลาที่ได้ใคร่ครวญลงสู่ฐานใจ แทนที่จะพยายามทำลายความเงียบนั้น ปัญญาในวงสนทนาจึงเป็นอิสระ เกิดการเรียนรู้ที่ขยายจากห้องเรียนของตัวเอง สู่การเรียนรู้ระหว่างห้องเรียนของแต่ละคน (Collective Intelligence) ปรากฏการณ์นี้ จะยังคงเกิดขึ้น แม้สิ้นสุดเวลาของ Workshop ไปแล้ว กระบวนการเรียนรู้ในครั้งนี้ เริ่มต้นจากการจับประเด็น ในช่วงที่ผู้เรียนรู้ Check-in บอกเล่าถึงความเข้าใจ และ ความสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับคำว่า “The Art of Living” สรุปได้คำสำคัญต่าง ๆ คือคำว่า “ครูกระบวนกร”, “สุนทรียสนทนา”, “อัตตา”, “ความเงียบ”, “ฐานใจ” และ “ความตาย” แล้วนำเอาคำต่าง ๆ ที่ได้มาจากช่วง Check-in มาเรียบเรียงเป็นกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นในวันนี้ ขอบคุณห้องเรียนทุกห้อง […]

กระบวนกรวิถี ไร้จากเส้นแบ่งแยก : The Facilitator’s Way

บันทึก กระบวนกรวิถี 10 ม.ค. 59 ณ บ้านอาใหญ่ วิศิษฐ์ วังวิญญู บันทึก โดย รัน ธีรัญญ์ ✿ วันนี้ ได้แชร์ประสบการณ์งานกระบวนกร ล่องใต้ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ได้ร่วมทีม FA กับอาใหญ่ วิศิษฐ์ วังวิญญู ให้กับชุมชนกระบวนกรวิถีได้ฟัง เป็นการแบ่งปันเรื่องราวพอสังเขป ที่จะสะท้อนให้เกิดประโยชน์ กับเพื่อนกระบวนกร แหม็ก อาใหญ่ และ พี่ไก่ ก็ได้ร่วมแชร์ด้วย ✿ ผุดความคิด ตกผลึกขึ้นมาว่า ในห้วงเวลาของการเยียวยา อาจคือ การพัฒนาปัญญาทั้ง 3 ฐานนั่นเอง โดยพิจารณาที่ฐานใจ จะเห็นความเปลี่ยนแปลงชัดสุด จากความน้อยใจ อิจฉา ริษยา โกรธเคือง สู่ความรัก การขอบคุณ ชื่นชมกัน ให้อภัยกันจากก้นบึ้งของหัวใจ ✿ มีคำโดนใจจากหนังสือที่น้องต้องได้อ่านมา เป็นคำพูดประมาณนี้นะ “การโกรธให้เห็นกันตามจริง อาจจะดีกว่าการเก็บความจริง […]

กระบวนกรสัญจร ล่องแดนใต้ : Facilitator workshop in the south of Thailand.

เริ่มต้นปี 2559 ด้วยการติดตาม ร่วมทีม FA (Facilitator) กับอาใหญ่ วิศิษฐ์ วังวิญญู เดินทางล่องใต้กับ 2 Workshop ติดต่อกัน ได้รับประสบการณ์ และ ได้เรียนรู้วิถีแห่งกระบวนกร ทั้งใน Workshop และ นอกเวลา Workshop อาใหญ่เปิดให้ทีม FA ร่วมคิดวางแผนกระบวนการสอนอยู่ทุกระยะ ระหว่างช่วงพักในแต่ละวัน และ ระหว่างมื้ออาหาร เช้า กลางวัน เย็น และ รอบค่ำด้วย ขอบอกเล่าประสบการณ์การเรียนรู้ใน Workshop แรก คืนสู่ความเป็นเลิศ โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร ในองค์กรการศึกษาแห่งหนึ่ง เป็นเวลา 3 วัน (4-6 มกราคม 2559) ดังต่อไปนี้ครับ Workshop คืนสู่ความเป็นเลิศ วันที่ 1  (4 มกราคม 2559) ช่วงเช้า : หลังจากการ […]

ผู้นำตามสภาวการณ์ : situational leadership

การเคลื่อนที่จากบทบาทหนึ่ง สู่อีกบทบาทหนึ่งอย่างเหมาะสม เช่น เคลื่อนที่จากการเป็นผู้นำในที่ทำงาน สู่การเป็นคุณพ่อในบ้าน เคลื่อนที่จากการเป็นผู้เชี่ยวชาญ สู่การเป็นนักเรียนรู้ที่สดใหม่ เคลื่อนที่จากการเป็นนักพูด สู่การเป็นผู้ฟังที่ปราศจากความอยากพูด นอกจากต้องฝึกฝนทักษะในบทบาทนั้นๆให้ได้อย่างดีแล้ว เราอาจจำเป็นต้องเรียนรู้ ศิลปะแห่งการแปรเปลี่ยนบทบาท จะทำอย่างไรให้สามารถเคลื่อนย้ายออกจากตัวตนเดิม ไปสู่ตัวตนใหม่ ได้แบบพริ้วไหวไร้เงา เท่าทันห้วงเวลาแห่งปัจจุบันขณะ ศิลปะการเคลื่อนย้ายตัวตน การเชื่อแบบเดิมๆ ว่าเราเป็นคนแบบนี้ จะพูดจาแบบนี้ล่ะ คิดว่าตัวเองเปลี่ยนแปลงไม่ได้แล้ว จะทำให้เราจมจ่อม อยู่ในบุคลิกภาพแบบเดิมๆ พบปัญหาแบบเดิมๆ ซ้ำๆ กระทำสิ่งต่างๆด้วยวงจรสมองอัตโนมัติ ตราบเมื่อค้นพบตัวตนหลักของตัวเอง แล้วยอมรับ จนสามารถถอดถอนตัวตนเดิมๆได้ ก็จะสามารถย้ายไปสู่ตัวตนใหม่ๆ พัฒนาบุคลิกภาพแบบใหม่ๆ มากขึ้นๆ ทีละเล็กทีละน้อย เกิดเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และ สังคม ศักยภาพแห่งชีวิตเปิดกว้าง สามารถสวมตัวตนหนึ่ง ณ ขณะหนึ่ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ยึดมั่นในการเป็นตัวตนใดๆ อย่าฝั่ง chip ว่าเราทำได้เพียงเท่าที่มีใครบอก อย่ายึดติดกับเป้าหมายในวัยเด็ก ที่เราเคยถูกถามว่า “โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไรจ๊ะ” เราสามารถขยับขยายความฝันของเราให้เหมาะสมมากขึ้นได้ เมื่อเราเติบโต ได้เห็นโลกที่กว้างใหญ่มากขึ้น มนุษย์สามารถเป็นได้ทุกอย่าง สำเร็จได้ในทุกสิ่งที่ต้องการ ตามวิสัยทัศน์ที่สัมผัสได้ถึง จักรวาลยังคงเคลื่อนไหว ธรรมชาติแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ และ เราสามารถเคลื่อนย้ายตัวตนได้ นอกจากนี้ การพัฒนาศิลปะแห่งการเคลื่อนย้ายตัวตน เป็นปัจจัยสำคัญช่วยส่งเสริม วุฒิภาวะแห่งสัตบุรุษ […]

จิตเป็นหนึ่ง ความคิดเป็นอิสระ : Oneness

ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา ไม่ถูกขังอยู่ในมายาการ ไม่ว่าด้านบวกหรือด้านลบของตัวเอง อันสามารถนำไปสู่ความอ่อนไหวเป็นพิเศษ ที่จะรับรู้อารมณ์ของคนอื่นและ สามารถรับรู้วาระของกลุ่มได้ การรู้เท่าทันความจริงในปัจจุบันขณะเช่นนี้ จะทำให้เราสามารถเชื่อมต่อภายในตัวเองได้อย่างซื่อสัตย์ และ สามารถเชื่อมต่อสู่ชุมชนด้วยพลังแห่งความศรัทธาซึ่งกันและกัน นี่คือ สภาวะหนึ่งเดียว (oneness) ของการเรียนรู้ร่วมกัน สภาวะหนึ่งเดียวในวงสนทนา สภาวะหนึ่งเดียว (oneness) คือ การหลอมรวมหัวใจของเราให้เป็นหนึ่งเดียวกับหัวใจของชุมชน มีความศรัทธาต่อตัวเองและชุมชน เป็นกุญแจที่จะนำพาเราเข้าสู่บรรยาการแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน การเชื่อมโยงจุดร่วม ของความคิดเห็นต่างๆ อย่างรอบด้าน 360 องศา (wholeness) จากผู้เรียนรู้ภายในชุมชน โดยไม่ด่วนตัดสิน จะค่อยๆ ก่อเกิดพลังแห่งความเป็นมิตรและไว้ใจ ตลบอบอวลเป็นมณฑลแห่งพลัง นำพาผู้เรียนรู้เข้าสู่สภาวะที่พร้อมเรียนรู้ได้อย่างดีที่สุด (optimum learning state)  สภาวะหนึ่งเดียวนี้ เกื้อกูลให้ผู้เรียนรู้ทุกคนเบาสบายภายใน พร้อมเปิดเผย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในขณะที่ จะไม่รีบร้อนแยกแยะ แตกประเด็นปัญหา ที่มากมายขึ้นโดยทันทีทันใด เหมือนอย่างการอธิปราย (discussion) ความไม่รู้ คือ ของขวัญ ปัญญาแห่งความไม่รู้ยิ่งใหญ่มหาศาล มากมายกว่าความรู้ชุดเดิมที่เคยมี การพบความไม่รู้ จึงคือ ของขวัญที่ล้ำค่า ความพยายามถาโถมความรู้ของตนสู่ชุมชน หรือ ผู้เรียนรู้ อาจทำให้ความรู้นั้นท่วมท้น ก่อเกิดกำแพง […]