Tag Archives: conflict

การบริหารจัดการความคาดหวัง : Expectation Management

หลุมพราง ของการบริหารความคาดหวัง เรามักไม่สื่อสารถึงความคาดหวัง เพราะเราคิดว่าคนอื่นๆ ย่อมรู้ดี ในระบบระเบียบที่ควรจะต้องทำอยู่แล้ว หรือ ต้องการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่อาจเกิดจากการระบุกฎเกณฑ์ในการทำงานหรือการอยู่ร่วมกัน และ สุดท้ายอาจเป็นเพราะเราไม่แน่ใจว่าจะสื่อสารออกไปอย่างไรให้ได้ผล มุมมองเชิงบวกต่อความคาดหวัง หนึ่ง) เป็นหน้าที่ที่ดี มองว่าการสื่อสารถึงความคาดหวังในการทำงานเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ในการบริหารจัดการของผู้จัดการ มองว่าการสื่อสารถึงความคาดหวังในการอยู่ร่วมกัน เป็นส่วนหนึ่งในหน้าที่ของการเป็นกัลยาณมิตร สอง) เป็นเข็มทิศให้กัน การแจ้งความคาดหวังตั้งแต่เริ่มต้น จะช่วยลดความขัดเคืองใจ อันจะนำมาสู่ความขัดแย้งได้มาก และยังจะเป็นทิศทางให้กับเพื่อนร่วมงาน ให้กับทีมงาน สามารถทำการตัดสินใจด้วยตนเองในระหว่างการทำงานได้ (Self-manage) สาม) เป็นข้อตกลงร่วมกัน การสื่อสารเกี่ยวกับความคาดหวัง จะสัมฤทธิ์ผลได้เมื่อทุกคนทำสิ่งนั้นร่วมกัน รวมถึงตัวเราก็จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีด้วย เราไม่สามารถอ้างว่า “ให้ทำตามที่ฉันพูด อย่าทำตามที่ฉันทำ” เมื่อทุกคนได้เข้าไปยอมรับ ความคาดหวังจากกันและกัน ก็จะสามารถพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับความคาดหวังในบทบาทหน้าที่ รวมถึงจะนำไปสู่ความสามารถที่จะรับผิดชอบ (Accountable) ต่องานที่ทำได้ ความคาดหวังในองค์กร ในบริบทขององค์กร ความคาดหวัง (Expectation) ซึมซาบผ่าน 2 ถ้อยคำ ได้แก่ คำว่ามาตรฐาน (Standards) และ คำว่าเป้าหมาย (Goals) หนึ่ง) มาตรฐาน (Standard) […]

การดูแลความก้าวร้าวในคน : Deal with Aggressiveness in People

การเผาไหม้ (Combustion) เกิดจากองค์ประกอบ 3 อย่าง เรียกว่า “Fire Triangle” ประกอบด้วย เชื้อเพลิง (Fuels) อากาศ (Oxygen) และ ความร้อน (Heat) ในขณะที่ ศ.ดร.โรเบิร์ต พลัทชิค (Robert Plutchik) ได้อธิบายเรื่องอารมณ์ก้าวร้าว (Aggressiveness) ผ่านวงล้อแห่งอารมณ์ (The Wheel of Emotions) เอาไว้ว่า เมื่อความโกรธ (Anger) ผสมโรงเข้ากับ ความคาดหวัง (Anticipation) จะเกิดเป็นความก้าวร้าวขึ้น เมื่อได้ลองอุปมาการเผาไหม้ เข้ากับการเกิดอารมณ์ก้าวร้าว ก็จะสามารถทำให้เห็นภาพได้ชัด และ เกิดเป็นแนวคิดแนวทาง เพื่อดูแลความก้าวร้าวในคน (Deal with Aggressiveness in People) แบ่งเป็น 3 กลยุทธิ์ ดังนี้ครับ กลยุทธ์ที่ 1. ปรับทิศปิดลม (Smother Air […]

อำนาจกับวิถีแห่งจิตวิญญาณ : the power of spirituality

งานเขียนนี้ คือ บันทึกการเรียนรู้ จากการได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ กับอาจารย์อวยพร เขื่อนแก้ว ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการโครงการผู้หญิงเพื่อสันติภาพและความยุติธรรม ในหัวข้อ “อำนาจกับวิถีแห่งจิตวิญญาณ” ที่สวนอาศรมวงศ์สนิท ตั้งแต่วันที่ 16-18 กันยายน 2559 Body Scan การเน้นกลับมาดูแลฐานกายเพื่อเพิ่มช่องว่างระหว่างความคิดที่มากมาย ปรับผ่อนความเครียด ผ่านทางร่างกาย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนกลางลำตัว และ ส่วนใต้ก้นกบลงไป รักตัวเองให้ได้ก่อนสิ่งอื่นใด ด้วยการกลับมาดูแลร่างกายตัวเองให้ผ่อนคลาย สมดุล และ มั่นคง “ขมิบก้น แขม่วท้อง หายใจเข้าลึก…ให้ถึงก้นกบ หายใจออก… ผ่อนคลายส่วนล่าง ส่วนกลาง ส่วนบน รับรู้ร่างกายที่เคลื่อนไหว จากการหายใจ รับรู้ความรู้สึกทางกาย เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง” Original Mind จิตที่สดใหม่ หรือ จิตผู้เริ่มต้น (beginner’s mind) เสมือนฟ้าใสไร้ก้อนเมฆ […]

เฝ้าสังเกต รับรู้ตามจริง : Observation

ปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสารมีจำนวนมากมายมหาศาล และ ถูกแชร์ส่งต่อกันอย่างรวดเร็ว ในขณะที่เราก็ช่วยกันรณรงค์ว่า อย่าแชร์ข้อมูลที่ไม่เป็นจริง ปัญหาจึงมีอยู่ว่า ข้อมูลใดเป็นข้อมูลที่จริง ข้อมูลใดเป็นข้อมูลที่ไม่จริง แล้วเราจะใช้วิจารณญาณในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างไร เทคนิคหนึ่งในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ก็คือ การแยกแยะว่า ข้อมูลนั้นเกิดจากการตีความ (Interpretation, Evaluation) หรือ เกิดจากการสังเกต (Observation) การตีความ (Interpretation, Evaluation) จะประกอบด้วยการคาดเดา หรือ การตัดสินของผู้ส่งสารเข้ามาร่วมด้วย ลักษณะคำพูดที่เกิดจากการตีความ เช่น “คุณมาสายนะ” มักสร้างความรู้สึกไม่ดีนักต่อคนฟัง เช่น อาจรู้สึกเหมือนกำลังถูกต่อว่า การสังเกต (Observation) คือ การระบุเวลา สถานที่ และ สภาพแวดล้อม ตามความเป็นจริง แทนที่จะพูดว่า “คุณมาสายนะ” ก็สามารถพูดแบบสังเกตตามจริงไปว่า “ตอนนี้ 7 โมง ฉันคิดว่าคุณจะมาถึงตอน 6 โมง” รวมถึงการพูดความคิดเห็นของตัวเองออกไปอย่างรับผิดชอบ เช่น พูดว่า “ฉันคิดว่า พวกเขาจะชนะในการแข่งขัน” นี่ก็ถือว่าเป็นการพูดจากการสังเกตตามจริง เพราะคำพูดเกิดจาก การสังเกตความคิด […]

ความสวยงามของความต้องการ : the beauty of human needs

ความสัมพันธ์ที่ดี เกิดจากความเข้าใจในความต้องการของกันและกัน และ ความพอใจเกิดขึ้นเมื่อความต้องการนั้นได้รับการตอบสนอง แต่หากความต้องการของแต่ละคนมีหลากหลาย และ ดูเหมือนจะเริ่มแตกต่าง แปลกแยกไปคนละเส้นทางกัน เราจะดูแลความสัมพันธ์อย่างไร ฉันต้องการกิน ฉันต้องการเที่ยว ฉันต้องการอ่านหนังสือ ฉันต้องการนอน ฉันต้องการดูหนัง ฉันต้องการฟังเพลง แท้จริงความต้องการเหล่านี้ อาจหมายถึงสิ่งเดียวกัน นั่นคือ ต้องการ…พักผ่อน ในการบอกความต้องการในชีวิตประจำวัน มักผสมโรงอยู่ด้วย PLATO PLATO คือ คำพูดที่ชี้ชัดถึงตัวบุคคล (person), ชี้ชัดถึงสถานที่ (location), ชี้ชัดถึงวิธีการ (action), ชี้ชัดเวลา (time) และ ชี้ชัดถึงวัตถุสิ่งของ (object) ประโยคการร้องขอ หรือ บ่งบอกความต้องการ ที่ปราศจาก PLATO คือ ความต้องการที่จริงแท้ ภรรยา : ฉันต้องการให้เธอซักผ้าให้ฉันในวันนี้ ประโยคที่เต็มไปด้วย PLATO นั้น สร้างความรู้สึกอึดอัดแก่คนฟัง ความต้องการที่แท้จริงของประโยคนี้ อาจคือ “ความสะอาด” การสืบค้นสู่ความต้องการที่จริงแท้ ช่วยเปิดโอกาสให้กับการค้นพบวิธีการใหม่ๆ ที่อาจตอบสนองตรงความต้องการได้เช่นเดียวกัน […]

กระบวนการสะท้อนตัวตน : group process

มนุษย์หนึ่งคนมีบทบาทมากมาย เช่น เป็นคุณพ่อ เป็นคุณลูก เป็นผู้นำ เป็นผู้ตาม เป็นนักเรียน เป็นคุณครู การเป็นอยู่ในสังคม ได้แบ่งกลุ่มมนุษย์ออกจากกันด้วยศักดิ์ (rank) การแบ่งแยกนี้ ยังคงเกิดขึ้นเงียบๆ ในยุคที่ไร้วรรณะ แต่จะแสดงผลออกมาคล้ายกันอย่างเบาๆ สร้างความรู้สึกว่า เราได้รับเกียรติเพียงพอ หรือว่า เรากำลังไม่ได้รับเกียรติเพียงพอ จนอาจเกิดสภาวะต่อต้านขึ้น เมื่อเผลอไปยึดถือเอาบทบาทอย่างเหนี่ยวแน่นในห้วงเวลาที่ควรจะปล่อยวาง เผลอไปยึดถือเอาโครงสร้างแห่งศักดิ์ (rank) มาค้างคา ในห้วงเวลาที่ควรจะเปิดใจกว้าง สร้างมิตรภาพ และ ความเท่าเทียม ศักดิ์ (rank) ประกอบด้วย 4 มิติ มิติทางสังคม (social rank) มาจากการให้คุณค่าทางสังคม ส่งผลต่อการมอบสิทธิพิเศษกับบางคนมากกว่า บางคนน้อยกว่าในสังคม เช่น สีผิว, เพศ, การเงิน, วัตถุนิยม, สุขภาพ, ศาสนา, วัยวุฒิ, คุณวุฒิ, ความเชี่ยวชาญ, ตำแหน่ง และอื่น ๆ มิติทางจิตวิทยา (psychological rank) […]

การสื่อสารภายในองค์กร : Open Mind Open Heart Open Will

การได้ร่วมทีมกระบวนกร ในคอร์สกระบวนกรพื้นฐาน 3 วัน กับอาใหญ่ วิศิษฐ์ วังวิญญู ตั้งแต่วันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2559 ส่งผลต่อพัฒนาการทักษะการเป็นกระบวนกรของตัวเอง ในส่วนงานที่จะสามารถเข้าไปพัฒนาการสื่อสาร ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นให้กับบุคลากรภายในองค์กร งานเขียนนี้เกิดจากการวิเคราะห์ เรื่องราวใน Workshop ผสมเข้ากับ การนำทฤษฎีอื่นๆ มาสังเคราะห์ประกอบต่อยอด เพื่อการเรียนรู้ การสื่อสารด้วยใจ อาจคือ ประสบการณ์ที่เลือนหายไปจากผู้คนในองค์กร เมื่อข้ามขอบสัมผัสถึงประสบการณ์ใหม่ ในการสื่อสารกันแบบตรงมาตรงไป ทำให้สะท้อนย้อนคลี่คลายถึงปมเล็กๆ ภายในของแต่ละคนเองได้ด้วย ก่อเกิดการเริ่มต้นใหม่ในมุมคิด พฤติกรรม และ วัฒนธรรมแห่งการสื่อสารภายในองค์กร กิจกรรมพูดเปิดใจแบบตรงมาตรงไปสำเร็จลุล่วงได้หรือไม่ อาจสังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นภายหลังกิจกรรม ผู้คนในองค์กรข้ามขอบเดิมๆ สามารถสื่อสารกันอย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นภายในองค์กร หรือ เพียงย้อนกลับเก็บงำความคิดตัดสิน สู่ความคุ้นชินเดิมๆ หลักสูตร กระบวนกรพื้นฐาน 3 วัน (3-5 ก.พ. 59) ปัจจัยที่เกื้อหนุนต่อความสำเร็จในกิจกรรมพูดเปิดใจ อาจประกอบด้วยการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) ผ่านพ้นการฟังแบบตัดสิน (I-in-me) สู่การฟังในอีก 3 ระดับ […]

เล่าเรื่องย่อจิตตนคร ในงานวัดลอยฟ้า จิตตนคร : mind city

วันที่ 3 – 7 เมษายน 2557 หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ธรรมภาคี สวนโมกข์ กรุงเทพฯ องค์กรทางพระพุทธศาสนามากมาย ได้ร่วมกันจัดมหกรรมงานวัด (temple fair) กลางกรุง บนห้างสรรพสินค้า สยาม พารากอน ชื่องานว่า งานวัดลอยฟ้า จิตตนคร ในงานนี้ ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าไปรับใช้พระพุทธศาสนาด้วยการเล่าเรื่องย่อ จิตตนคร นครหลวงของโลก พระนิพนธ์ ใน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก* ให้กับผู้ที่มาร่วมชมงาน ที่สนใจ รับรู้เรื่องราวในพระนิพนธ์ แบบพอสังเขป ในแบบสนุกสนาน เข้าใจง่ายๆ ภายในเวลา 20-30 นาที จิตตนคร เป็นนครหลวงของโลก เป็นแหล่งเกิดแห่งสุข ทุกข์ ความเจริญ ความเสื่อม สมบัติ และ วิบัติแห่งโลกทั้งสิ้น เป็นเมืองลับแล ไม่เห็นด้วยตาเนื้อ แต่เห็นได้ด้วยตาใจ เมื่อทำความสงบจิตดู เหตุการณ์สำคัญ ในวันปีใหม่ […]

ผลผลิตจากความคิดเห็นที่จริงแท้ : shared vision

เรียนรู้ เรื่อง การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน (building shared vision) ผ่านนิทาน เรื่อง ฟังเสียงภูเขาไฟ (Listening to the Volcano : conversations that open our minds to new possibilities) แต่งโดย David Hutchens สรุปเรื่องย่อพอสังเขป ได้ตามนี้เลยครับ กาลครั้งหนึ่ง มีหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ท่ามกลางภูเขาไฟที่คุกรุ่น ชื่อว่า หมู่บ้านต้นสน ผู้คนในหมู่บ้านแห่งนี้ มีลักษณะพิเศษ คือ เมื่อพูดออกมา จะมีวัตถุที่มีลักษณะเป็นแผ่นกลมๆ หล่นออกมาจากปากผู้พูดด้วย เรียกว่า แผ่นคำพูด คล้ายๆ กับนวนิยายไทย เรื่องพิกุลทองเลยแฮะ เวลาที่นางเอกพูดจะมีดอกพิกุลทองล่วงหล่นออกมาด้วย แต่ในนิทานเรื่องนี้ แผ่นคำพูดมีลักษณะเป็นแผ่นวงกลมนะครับ ขนาดใหญ่พอสมควรเลยทีเดียว ประมาณ 1 ตารางฟุตเห็นจะได้ โดยมีความหนาประมาณอิฐก้อนนึงเลยนะ ความแปลกพิศดารของผู้คนในหมู่บ้านนี้ ไม่ใช่เพียงแต่เรื่องแผ่นคำพูดนะครับ ยังมี แผ่นความคิด อีกด้วย เพียงแต่แผ่นความคิดจะปรากฏออกมาให้เห็นเป็นบางครั้งเท่านั้น เมื่อชาวบ้านสงบนิ่งเพียงพอ จนเกิดเป็นความคิดแบบปิ๊งแว๊บขึ้นมา จึงจะเกิดเป็นแผ่นความคิดนะ ส่วนแผ่นคำพูดนั้น […]

แลกเปลี่ยนชัวร์กว่าบอกสอน : mental models

เรียนรู้ เรื่อง รูปแบบความคิด (mental models) ผ่านนิทานเรื่อง เงาแห่งยุคหิน (Shadows of the Neanderthal : illuminating the beliefs that limit our organizations) สรุปเรื่องย่อเรียบเรียงพอเข้าใจได้ ตามนี้ครับ กาลครั้งหนึ่ง มีมนุษย์ถ้ำ 5 คน อาศัยรวมกันอยู่ ภายในถ้ำแห่งหนึ่ง พวกเขาไม่เคยออกจากถ้ำ ด้วยเหตุที่ทุกคนมีภาพความน่ากลัวภายนอกถ้ำต่างๆ กันไป มนุษย์ถ้ำจะหันหลังให้ปากถ้ำ ดังนั้น พวกเขาไม่เคยเห็นสัตว์ต่างๆ ภายนอกถ้ำเลย จะเห็นก็แต่เพียงเป็นเงาของสัตว์ ที่ฉายลงบนผนังถ้ำเท่านั้น และ พวกเขาก็คิดว่า นั่นเป็นสัตว์จริงๆ มนุษย์ถ้ำคนหนึ่ง ชื่อ บูกี เขามีความคิดที่ต่างออกไป ครั้งหนึ่ง เขาเผลอพลั้งปากพูดถึงความคิดที่แหกคอกนั้นออกไปว่า “เขาสงสัยว่ามีอะไรนอกถ้ำกันแน่” เพียงเท่านั้น ก็ถูกบรรดาเพื่อนมนุษย์ถ้ำรุมด่า รุมวิพากษ์วิจารย์ ไปต่างๆนานา จนเลยเถิด ถึงขั้นขับไล่ บูกี ออกจากถ้ำไป ด้วยหวังจะให้ บูกี หายไปตลอดกาล บูกีออกสู่โลกภายนอกถ้ำ […]