ปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสารมีจำนวนมากมายมหาศาล และ ถูกแชร์ส่งต่อกันอย่างรวดเร็ว ในขณะที่เราก็ช่วยกันรณรงค์ว่า อย่าแชร์ข้อมูลที่ไม่เป็นจริง ปัญหาจึงมีอยู่ว่า ข้อมูลใดเป็นข้อมูลที่จริง ข้อมูลใดเป็นข้อมูลที่ไม่จริง แล้วเราจะใช้วิจารณญาณในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างไร เทคนิคหนึ่งในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ก็คือ การแยกแยะว่า ข้อมูลนั้นเกิดจากการตีความ (Interpretation, Evaluation) หรือ เกิดจากการสังเกต (Observation) การตีความ (Interpretation, Evaluation) จะประกอบด้วยการคาดเดา หรือ การตัดสินของผู้ส่งสารเข้ามาร่วมด้วย ลักษณะคำพูดที่เกิดจากการตีความ เช่น “คุณมาสายนะ” มักสร้างความรู้สึกไม่ดีนักต่อคนฟัง เช่น อาจรู้สึกเหมือนกำลังถูกต่อว่า การสังเกต (Observation) คือ การระบุเวลา สถานที่ และ สภาพแวดล้อม ตามความเป็นจริง แทนที่จะพูดว่า “คุณมาสายนะ” ก็สามารถพูดแบบสังเกตตามจริงไปว่า “ตอนนี้ 7 โมง ฉันคิดว่าคุณจะมาถึงตอน 6 โมง” รวมถึงการพูดความคิดเห็นของตัวเองออกไปอย่างรับผิดชอบ เช่น พูดว่า “ฉันคิดว่า พวกเขาจะชนะในการแข่งขัน” นี่ก็ถือว่าเป็นการพูดจากการสังเกตตามจริง เพราะคำพูดเกิดจาก การสังเกตความคิด […]