Tag Archives: social awareness

ฟื้นคืนพลังจากใบไม้ที่ร่วงหล่น – Awareness and Resilience

ในการทำโปรเจคที่ต้องใช้เวลานาน ๆ ในการบรรลุผลลัพธ์ เราต่างรู้ดีว่าต้องใช้ความอดทน เพื่อฟันฝ่าอุปสรรคจนสำเร็จ แต่บางครั้งความท้าทายในงาน ที่มีกำหนดกรอบเวลา เมื่อมาผสมรวมกับความคาดหวังในใจ ก็จะกลายเป็นความเครียดขึ้นมา เมื่อถึงขีดจำกัดหนึ่งก็จะรู้สึกว่าต้องพัก ถ้าเราตัดสินใจพักได้ แต่หากเราไม่สามารถตัดสินใจพักได้ด้วยตนเอง ความเครียดทางใจก็จะถูกสะสมลงไปที่สุขภาพทางกายของเราแทน ความฝืนทนทางใจที่มากเกินไปนั้น มีผลต่อสุขภาพทางกาย หรือไม่ก็นำไปสู่ภาวะหมดไฟ (Burnout) จบชีวิตในการทำงาน การให้โอกาสตัวเองได้ช้าลงชั่วขณะ รับรู้ถึงวันนี้ ที่มีอากาศค่อนข้างเย็น รับรู้ถึงลมหนาว ที่พัดใบไม้ร่วงหลนลงบนฝ่ามือของเรา นี่คือสัญญาณที่บอกว่า เรายังมีชีวิต ยังสามารถมองเห็น ได้ยินเสียงต่าง ๆ ที่ดังอย่างแผ่วเบาจากระยะทางไกล ๆ … การกลับมาสู่ปัจจุบันขณะเช่นนี้ ทำให้ความคาดหวังในใจหายไปชั่วครู่ เกิดความพอใจ เต็มเปี่ยมด้วยพลังแห่งการมีชีวิต อะไรต่อมิอะไรที่เผชิญอยู่ กลับกลายเป็นกำไรของการมีชีวิต กลายเป็นโอกาสที่เราได้ทำงาน ตระหนักรู้ถึงคุณค่าภายในตัวเราที่ทำให้เราได้ทำงาน สภาวะจิตใจเช่นนี้ ทำให้เราฝืนทนน้อยลง เป็นการน้อยลงในแง่ที่ดีขึ้น เพราะเพิ่มความสามารถในการลงมือทำ ด้วยความรู้สึกที่สบายขึ้น นี่เป็นการทักทายความคาดหวัง แล้วกลับสู่ปัจจุบันขณะ แปรเปลี่ยนความฝืนทนจากความคาดหวังในอนาคต ให้กลายเป็นความพอใจอย่างเต็มเปี่ยมในปัจจุบัน ใบไม้ที่ร่วงหล่นลงบนฝ่ามือของเรา เป็นสัญลักษณ์แทนความความสุขที่เรียบง่ายในปัจจุบันขณะ ที่ช่วยฟื้นคืนกลับความมีชีวิตชีวาให้กับการทำงานของเราในปัจจุบัน หลักสูตร โดย อ.ธีรัญญ์ : […]

การค้นหาตัวเองและความหมายของชีวิต – Meaning of Life

เราอาจต้องการสำรวจตัวเอง เพื่อให้เกิดความแน่ใจขึ้นภายในใจ และตอบคำถามกับตัวเองได้ว่า “ฉัน คือ ใคร” โดยในระหว่างทางของการค้นหาตัวเอง อาจเกิดความรู้สึกพอใจขึ้นมาบางช่วงเวลา พอจะตอบได้แล้วว่า “ฉัน คือ ใคร” แต่พอเมื่อเวลาผ่านไปสักพักหนึ่งกลับรู้สึกไม่แน่ใจหรือเคว้งคว้างยิ่งกว่าเดิม ความจริงก็คือธรรมชาติแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ บางคำตอบที่ดูเหมือนจะแน่นอน จึงเป็นจริงแค่เพียงชั่วคราว เมื่อเหตุปัจจัยเปลี่ยน ความหมายของชีวิตที่เคยเข้าใจก็อาจเปลี่ยนไป บางช่วงเวลา เราทำงานหนึ่งได้อย่างมีความสุข ประสบความสำเร็จ ชีวิตดูเหมือนมีความลงตัวเป็นอย่างดี แต่พอสำรวจกลับเข้ามาในใจก็พบว่า มันยังไม่ใช่คำตอบของชีวิต นี่ไม่ใช่ว่าเราผิดพลาดอะไร แต่นี่คือธรรมชาติของการแปรเปลี่ยน บทความนี้ ผมขอนำเสนอ แผนที่ของชีวิตแบบหนึ่ง ที่นำไปสำรวจชีวิตได้อย่างง่าย ๆ เพราะมีเพียง 2 ทาง และทั้งสองทางนี้ก็เป็นทางที่ถูกทั้งคู่ วิธีใช้ก็คือ ถ้าเราเดินอยู่บนเส้นทางหนึ่งมากเกินไป ก็ให้ลองมาเดินอีกทางหนึ่งดูบ้างแค่นั้นเอง ทางทั้ง 2 ทางที่จะนำเสนอ มีดังนี้ครับ หนึ่ง) สร้างความกลมเกลียวภายใน ได้แก่ การยอมรับในตนเอง การรับฟังเสียงร่างกาย ผ่อนคลายความเคร่งตึง สังเกตพฤติกรรมของตนเองด้วยใจที่เป็นกลาง เหมือนมองตัวเองจากบนฟ้าลงมา อาจใช้การจดบันทึกหรือเล่าเรื่องตัวเองให้ตัวเองฟัง ไม่ใช่การเขียนเพื่อลุ้นยอดกดไลค์ ลดการวิเคราะห์สายตาท่าทีหรือความคิดเห็นจากผู้อื่น อาจให้เวลาตัวเองได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบที่ช่วยเสริมพลังใจ การฝึกรับรู้ถึงลมหายใจเข้าและลมหายใจออก […]

การเข้าถึงใจผ่านอารมณ์ความรู้สึก: Emotional Empathy

การเข้าถึงใจ (Empathy) คือ ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น รวมถึงมุมมองที่เขามองสิ่งต่างๆ เป็นสมรรถนะสำคัญหนึ่งใน 12 สมรรถนะของ ผู้นำที่มีความฉลาดทางอารมณ์และสังคม (Emotional and Social Competency Inventory) และ เป็นพื้นฐานสำคัญของการบริหารจัดการความสัมพันธ์ (Relationship Management) การเข้าถึงใจ (Empathy) สามารถแบ่งตามวงจรการทำงานของสมอง ได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ การเข้าถึงใจผ่านมุมมองความคิด (Cognitive Empathy) และ การเข้าถึงใจผ่านอารมณ์ความรู้สึก หรือร่วมรู้สึก (Emotional Empathy) และหากอ้างอิงข้อมูลจาก University of California – Davis จะแบ่งออกเป็น 3 แบบ โดยเพิ่ม การเข้าถึงใจผ่านกระกระทำ จุ่มแช่ ให้การช่วยเหลือ (Compassionate Empathy) เรียกรวมกันว่า “3 Stages of Empathy” ประกอบด้วย เข้าถึงใจผ่านความคิดของเรา […]

มุมมองเชิงบวก : positive outlook

การมีมุมมองเชิงบวก (positive outlook) คือ สมรรถนะของผู้นำในทุกระดับ เป็นความสามารถในการมองเห็นข้อดีในบุคคล ในสถานการณ์ และ เหตุการณ์ต่างๆ ยืนหยัดอยู่บนทางสู่เป้าหมายได้ต่อไป แม้ว่าจะพลาดพลั้ง หรือ พบเจออุปสรรค ยังคงเห็นโอกาสในสถานการณ์เหล่านั้นได้ เป็นหนึ่งใน 12 สมรรถนะของผู้นำที่ชาญฉลาดทางอารมณ์ หรือ เรียกรวมกันว่า ESCI (emotional and social competency inventory) คำถามชวนคิดในงานเขียนนี้ ก็คือ หากเราเป็นคนที่มีชื่อเสียงอย่างมากในโลกออนไลน์ มีข้อความกล่าวชมเรานับหมื่น แต่แล้ววันหนึ่ง เราก็พบว่า มีข้อความในเชิงลบ กล่าวว่าร้ายเรา ในวันนั้น เราจะรู้สึกอย่างไร ความคิดของเราจะชี้เราไปทางใด เรามั่นใจในความคิดเชิงบวกของเราได้แค่ไหน ? แล้วเราจะกลับมามีมุมมองเชิงบวกต่อเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างไร ? ลองอ่านงานเขียนนี้ พร้อมๆ กับใคร่ครวญไปด้วยว่า เราจะพัฒนาอารมณ์เชิงบวกของเราไปในทิศทางไหนดี สมองกับมุมมองเชิงบวก เราพบว่าคนที่มีมุมมองเชิงบวก สมองส่วนหน้าฝั่งซ้าย (the left-side of the prefrontal region) จะทำงานมากกว่า เรายังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเพราะอะไร แต่สมองส่วนนี้เชื่อมกับส่วนที่เรียกว่า […]

ปกป้องน้ำหนึ่งหยดจากการแห้งเหือดได้อย่างไร : SAMSARA

“ปกป้องน้ำหนึ่งหยดจากการแห้งเหือดได้อย่างไร?” เป็นคำถามจากภาพยนตร์เรื่อง SAMSARA (สังสารวัฏ) ที่ผู้เขียนได้ชมเมื่อหลายปีก่อน ในตอนท้ายของภาพยนตร์เรื่องนี้อาจมีคำตอบ แต่คำตอบนั้นก็ยังไม่ได้ช่วยให้ผู้เขียนเกิดความแจ่งแจ้งที่ใจ จึงทำให้ต้องกลับมาดูซ้ำ งานเขียนนี้ ผู้เขียนจะได้นำเสนอแบบเรื่องย่อ โดยบอกเล่าฉากสำคัญๆในภาพยนตร์ พร้อมทั้งการตีความเพิ่มเติม 0.01 มีพญาเหยี่ยวบินโฉบไปมาอยู่บนท้องฟ้า (ณ ลาดัค ประเทศอินเดีย พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 15,000 ฟุต) ในขณะที่กองคาราวานที่นำโดยอโป ลามะเฒ่า และ โซนาม พระลูกศิษย์ กำลังเดินทางเพื่อไปรับ ทาชิ ลามะหนุ่มที่บำเพ็ญเพียรอยู่ในถ้ำครบ 3 ปี 3 เดือน 3 วัน วัฒนธรรมธิเบต เปรียบเปรยว่า เหยี่ยวหรือแร้งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย ความตายจ้องมองเราอยู่ 01.15 พญาเหยี่ยวได้โฉบลงมาจับก้อนหิน แล้วบินทะยานสูงขึ้นอีกครั้ง ก่อนปล่อยก้อนหินหล่นลงมา ภาพถ่ายจากมุมล่างขึ้นฟ้า ทำให้เห็นก้อนหินค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้นๆ จนหล่นทับแกะตาย รู้สึกว่า ความตายใกล้ตัว แต่มองไม่เห็น จนกว่ามันจะคืบคลานเข้ามาปรากฏ เราจึงจะเห็น คิดถึงสำนวน “ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา” 8.07 คณะลามะเดินทางมาถึงถ้ำ […]

เข้าถึงใจผู้อื่นผ่านเซลล์สมองกระจกเงา : empathy through mirror neuron

ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงานภาวนาครั้งสำคัญของหมู่บ้านพลัม ประเทศไทย ชื่องานว่า Asia-Pacific Core-Sangha Retreat 2016 ตอน ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งคือรักแท้ (Deep Understanding is True Love) ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2559 จนถึงวันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นงานที่รวมผู้ปฏิบัติตามแนวทางหมู่บ้านพลัมจากหลายๆ ประเทศ เช่น ฝรั่งเศส เบลเยียม จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง เวียดนาม ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ ประเทศไทย ประสบการณ์เล็กๆ ที่จะขอหยิบยกมาเล่าสู่กันฟังก็คือ ในวันหนึ่ง ระหว่างงานภาวนา ในขณะที่ผมออกจากห้องน้ำเรือนพักชาย ผมพบกับนักปฏิบัติผู้หนึ่งกำลังจัดเรียงรองเท้าสำรองที่ใช้สำหรับเปลี่ยนใส่เข้าห้องน้ำขึ้นชั้นวาง เขาไม่ได้เพียงจัดเรียงรองเท้าที่ตนเองสวมใส่ แต่ยังจัดเรียงรองเท้าที่วางระเกะระกะจำนวนมากหน้าห้องน้ำ ให้เข้าชั้นอย่างเป็นระเบียบอีกด้วย ผมมองไปรอบๆ บริเวณนั้นไม่พบผู้ใด ไม่มีผู้ใดสักคนที่จะมาแลเห็นพฤติกรรมอันดีนี้ เพื่อชื่นชมเขา เขาทำโดยไม่ได้สนใจคำชื่นชมใดๆ เรื่องราวเล็กๆนี้ […]

รันกระบวนการ งานกระบวนกร : run wisdom process

กระบวนกร (facilitator) คือ ผู้อำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ในขณะที่ กระบวนกรแบบจิตตปัญญา (contemplative facilitator) คือ ผู้นำพากระบวนการเรียนรู้ เหนี่ยวนำให้เกิดการค้นพบสรรพวิชาจากด้านใน เกิดการก้าวพ้นข้อจำกัด ขยับขยายพื้นที่ของจิตใจ โดยที่สุดแล้ว กระบวนกร คือ ผู้นำพาให้เกิดชุมชนที่ทุกคนฝึกปฏิบัติร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ (community of practice) งานเขียนนี้ ผู้เขียนได้ตกผลึกกระบวนท่าพื้นฐานสำหรับการรันกระบวนการ จากประสบการณ์ตรงในการเป็นกระบวนกรแบบจิตตปัญญา (contemplative facilitator) แบ่งกระบวนการ ออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ รู้ (comprehension) ละ (abandonment) เห็น (realization) และ ทำ (practices) RUN WISDOM PROCESS หนึ่ง) รู้ : comprehension สร้างพื้นที่ปลอดภัย มีชุมชนแห่งความกรุณา (compassionate community) โอบรับการเรียนรู้ จากนั้นนำพาผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ หรือ ประสบการณ์ใหม่ๆ เผชิญความไม่คุ้นชิน ที่พอเหมาะพอดี […]