Tag Archives: speaking

ศิลปะการโน้มน้าวใจใน 3 มิติ: The Art of Persuasion

อริสโตเติล กล่าวว่า 3 ส่วนหลักของการจูงใจ ได้แก่ เหตุผล (logos/logic/mind), จริยธรรม (ethos/ethic/soul) และ อารมณ์ (pathos/emotion/heart) เมื่อนำรากศัพท์ภาษากรีกทั้ง 3 คำ ได้แก่ logos, ethos และ pathos มาใคร่ครวญหาความหมาย ร่วมกับการศึกษาบทความจาก Harvard Business Review จึงเกิดเป็น ศิลปะการพูดจูงใจ แบบ 3 มิติ ดังนี้ มิติ 1. พูดได้ถึงใจ (Emotion) ผู้พูดเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟัง และ พูดออกมาจากใจที่รู้สึกตรงกัน รู้ถึงความเป็นอยู่ของผู้ฟัง และ ความรู้สึกจริงๆ ที่ซ่อนอยู่ พูดโดย การเล่าเรื่อง (Storytelling) โดยเฉพาะเรื่องจริง ที่เกิดขึ้นสดๆ พูดด้วยน้ำเสียงที่เข้าถึงอารมณ์ กระตุ้นความรู้สึกเชิงลึกภายใต้จิตใจ ให้คำพูดที่พูดแปรเปลี่ยนเป็นภาพปรากฏขึ้นในจิตใจของผู้ฟังได้ มิติ 2. พูดได้บรรเจิด (Reason) ผู้พูดรู้ว่าอะไรคือแก่นของการพูด […]

สนทนาสะท้อนปัญญา : run collective wisdom

สนทนาสะท้อนปัญญา แบ่งได้เป็น 2 แนวทาง แนวทางแรก คือ การสนทนาที่เน้นให้เกิดผลลัพธ์ (productive conversation) โดยมีวัตถุประสงค์วางไว้ล่วงหน้า เพื่อเน้นหาทางออกร่วมกัน อีกแนวทางหนึ่งก็คือ ไดอะล็อกแท้ (pure dialogue) เป็นการสนทนาโดยไม่มีหัวข้อตายตัว ให้เวลา รอคอยได้ ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการค้นพบทางปัญญาแบบฉับพลัน (intuition) ปัจจัยที่เกื้อหนุนการสนทนา สังฆะ หรือ ชุมชนที่อบอุ่นนั้นเกื้อหนุนการสนทนา ชุมชนที่ทุกคนมีพื้นที่ว่างภายในจิตใจ ให้ความเท่าเทียม ไว้ใจกันอย่างเต็มเปี่ยม มีความศรัทธา เชื่อมั่นในคุรุภายใน เคารพซึ่งกันและกัน มีบรรยากาศที่อบอุ่นเหมือนอยู่บ้าน รู้สึกปลอดภัย เป็นครอบครัวเดียวกัน มีความผ่อนคลาย และ ความท้าทาย อยู่รวมกันอย่างพอเหมาะพอดี (flow state) ทักษะการฟังในวงสนทนา การฟังเริ่มต้นเมื่อผู้ฟังเปิดพื้นที่ว่างภายในใจ มีสมาธิในการฟัง อยู่กับความเงียบได้ หลอมรวมการฟังเป็นหนึ่งเดียวกับความเงียบ (listen = silent) การฟังเบื้องต้น คือ ความสามารถจับประเด็นได้ ขั้นต่อมา คือ ความสามารถในการรับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูดด้วย การฟัง คือ ทักษะที่ต้องการการฝึกฝน เพื่อให้สามารถฟังได้ ด้วยใจที่เปิดกว้าง เป็นอิสระจากความอยากที่จะพูดแบบทันทีทันใด […]

การสื่อสารที่จริงแท้ : Authentic Communication

ความหมายโดยทั่วไปของคำว่า การสื่อสาร ได้แบ่งแยก ผู้ส่งสาร (sender) และ ผู้รับสาร (receiver) ออกจากกัน ในขณะที่การสื่อสารที่จริงแท้นั้น คือ การดำรงอยู่ร่วมกัน ทุกคนเป็นผู้ส่งสาร และ ทุกคนเป็นผู้รับสาร ในห้วงขณะเวลาเดียวกัน ในสถานการณ์ของการพูดคุย เมื่อผู้พูดดำรงอยู่กับผู้ฟังที่อยู่ตรงหน้า ผู้พูดจะสามารถรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟังไปด้วย ผู้พูดจึงเป็นผู้รับสารอยู่ด้วยแม้ในขณะเวลาที่พูด ส่วนผู้ฟังแม้ไม่ได้พูด ก็แสดงออกอยู่ตลอดเวลาด้วยอวัจนภาษา (non-verbal) หรือ อารมณ์ความรู้สึก (feeling) หากผู้พูดสัมผัสถึงสิ่งเหล่านั้นได้ ผู้ฟังก็กำลังเป็นผู้ส่งสารถึงผู้พูดอยู่ด้วยเช่นกัน การสื่อสารที่จริงแท้ (authentic communication) คือ การสร้างพื้นที่ว่างภายในจิตใจของผู้สื่อสาร ไม่กะเกณฑ์ให้การสื่อสารดำเนินไปตามทาง จนสรุปจบลงตามความคิดเห็นของตนเอง เปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และ เกิดผลลัพธ์ที่ดีเกินคาดได้ การเปิดใจกว้างจะส่งผลต่อบรรยากาศในการสื่อสาร เกิดพื้นที่ว่างแห่งความปลอดภัย ให้แต่ละคนกล้าที่จะเปิดเผยตัวตนอันจริงแท้ออกมา ซึ่งจะช่วยขยับขยายความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น จัดวางความสัมพันธ์ได้อย่างเหมาะสม เกิดความไว้วางใจต่อกัน เห็นคุณค่าของกันและกัน ให้เกียรติกัน ช่วยคลี่คลายความขัดแย้ง และ เกิดบรรยากาศแห่งความสุขในการดำรงอยู่ร่วมกัน การสื่อสารที่จริงแท้ (authentic communication) ประกอบด้วย การเชื่อมความสัมพันธ์ (connect and build rapport) การฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) ศิลปะแห่งการพูด (the art of speech) […]

พูดจา กระชับ จับใจ : Intuitive Speech

รู้สึกหลงใหลคำพูดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวงสุนทรียสนทนา (Dialogue) การสนทนาที่ปล่อยให้ความเงียบเป็นส่วนหนึ่งของท่วงทำนองการพูดคุย เมื่อเราฟังความเงียบได้ เราจะได้ยินเสียงกระซิบจากจักรวาล และบ่อยครั้งเมื่อความเงียบมากพอ เราจะได้ยินเสียงของปราชญ์ ผู้ที่มักสงบอยู่ อาจเป็นใครสักคนในวงสนทนาที่เราไม่เคยคาดคิดก็ได้ คำพูดที่อ่านจากประสบการณ์ชีวิต บางเสี้ยวบางตอน สะท้อนออกมาเพื่อมอบให้ผู้ฟัง ด้วยความรัก ได้แบบกระชับ จับใจ (Intuitive Speech) จอมยุทธที่มีเพลงยุทธ ย่อมเพลิดเพลินในการท่องยุทธฉันใด กระบวนกรผู้มีวาทศิลป์ ย่อมเพลิดเพลินในวงสนทนาฉันนั้น ไม่ว่าท่องเที่ยวไปสู่วงสนทนาที่ไหน ผู้คนย่อมยกย่องในเพลงดาบที่งดงามฟันฉับเดียวขาด มากกว่า เพลงดาบที่ร่ายรำเรื่อยไปแบบไร้ทิศทาง เหตุผลของการพูดที่กระชับนั้น นอกจากจะช่วยให้ผู้ฟังจับประเด็นได้ง่าย ยังหมายถึง การเอื้อเฟื้อเวลาให้กับผู้อื่นได้พูดอีกด้วย วิธีการพูดของแต่ละคนนั้น อาจกลั่นกรองมาได้จากหลายวิธี ผมทำได้เพียงเฝ้าสังเกต เรียนรู้จากตัวเองในขณะที่ถึงเวลาจะพูด ผมใช้เวลาในการหายใจเล็กน้อยก่อนพูด เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่จะไม่คิดหาถ้อยคำใดๆ เพื่อมาพูด ในใจรู้แต่เพียงว่าจะมอบสิ่งที่ดีๆ ต่อผู้ฟังที่อยู่ตรงหน้า ภายหลังการหายใจเข้าออกสักพัก จะมีถ้อยคำผุดขึ้นเอง 2-3 คำ บ่อยครั้ง ผมจะใช้วิธีการ เล่าเชื่อมโยงถึงคำสำคัญเข้าด้วยกัน ด้วยการอ่านประสบการณ์ของตัวเอง พร้อมกับการอ่านความรู้สึกของผู้ฟังไปด้วย แต่ละประโยคที่พูด จึงสั้นยาวได้ความ เหมือนข้าวที่พอดีคำ กลืนกินได้สะดวก สภาวะนี้ เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ มันนำพาให้การพูดนั้น […]

จิตเป็นหนึ่ง ความคิดเป็นอิสระ : Oneness

ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา ไม่ถูกขังอยู่ในมายาการ ไม่ว่าด้านบวกหรือด้านลบของตัวเอง อันสามารถนำไปสู่ความอ่อนไหวเป็นพิเศษ ที่จะรับรู้อารมณ์ของคนอื่นและ สามารถรับรู้วาระของกลุ่มได้ การรู้เท่าทันความจริงในปัจจุบันขณะเช่นนี้ จะทำให้เราสามารถเชื่อมต่อภายในตัวเองได้อย่างซื่อสัตย์ และ สามารถเชื่อมต่อสู่ชุมชนด้วยพลังแห่งความศรัทธาซึ่งกันและกัน นี่คือ สภาวะหนึ่งเดียว (oneness) ของการเรียนรู้ร่วมกัน สภาวะหนึ่งเดียวในวงสนทนา สภาวะหนึ่งเดียว (oneness) คือ การหลอมรวมหัวใจของเราให้เป็นหนึ่งเดียวกับหัวใจของชุมชน มีความศรัทธาต่อตัวเองและชุมชน เป็นกุญแจที่จะนำพาเราเข้าสู่บรรยาการแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน การเชื่อมโยงจุดร่วม ของความคิดเห็นต่างๆ อย่างรอบด้าน 360 องศา (wholeness) จากผู้เรียนรู้ภายในชุมชน โดยไม่ด่วนตัดสิน จะค่อยๆ ก่อเกิดพลังแห่งความเป็นมิตรและไว้ใจ ตลบอบอวลเป็นมณฑลแห่งพลัง นำพาผู้เรียนรู้เข้าสู่สภาวะที่พร้อมเรียนรู้ได้อย่างดีที่สุด (optimum learning state)  สภาวะหนึ่งเดียวนี้ เกื้อกูลให้ผู้เรียนรู้ทุกคนเบาสบายภายใน พร้อมเปิดเผย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในขณะที่ จะไม่รีบร้อนแยกแยะ แตกประเด็นปัญหา ที่มากมายขึ้นโดยทันทีทันใด เหมือนอย่างการอธิปราย (discussion) ความไม่รู้ คือ ของขวัญ ปัญญาแห่งความไม่รู้ยิ่งใหญ่มหาศาล มากมายกว่าความรู้ชุดเดิมที่เคยมี การพบความไม่รู้ จึงคือ ของขวัญที่ล้ำค่า ความพยายามถาโถมความรู้ของตนสู่ชุมชน หรือ ผู้เรียนรู้ อาจทำให้ความรู้นั้นท่วมท้น ก่อเกิดกำแพง […]

ผลผลิตจากความคิดเห็นที่จริงแท้ : shared vision

เรียนรู้ เรื่อง การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน (building shared vision) ผ่านนิทาน เรื่อง ฟังเสียงภูเขาไฟ (Listening to the Volcano : conversations that open our minds to new possibilities) แต่งโดย David Hutchens สรุปเรื่องย่อพอสังเขป ได้ตามนี้เลยครับ กาลครั้งหนึ่ง มีหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ท่ามกลางภูเขาไฟที่คุกรุ่น ชื่อว่า หมู่บ้านต้นสน ผู้คนในหมู่บ้านแห่งนี้ มีลักษณะพิเศษ คือ เมื่อพูดออกมา จะมีวัตถุที่มีลักษณะเป็นแผ่นกลมๆ หล่นออกมาจากปากผู้พูดด้วย เรียกว่า แผ่นคำพูด คล้ายๆ กับนวนิยายไทย เรื่องพิกุลทองเลยแฮะ เวลาที่นางเอกพูดจะมีดอกพิกุลทองล่วงหล่นออกมาด้วย แต่ในนิทานเรื่องนี้ แผ่นคำพูดมีลักษณะเป็นแผ่นวงกลมนะครับ ขนาดใหญ่พอสมควรเลยทีเดียว ประมาณ 1 ตารางฟุตเห็นจะได้ โดยมีความหนาประมาณอิฐก้อนนึงเลยนะ ความแปลกพิศดารของผู้คนในหมู่บ้านนี้ ไม่ใช่เพียงแต่เรื่องแผ่นคำพูดนะครับ ยังมี แผ่นความคิด อีกด้วย เพียงแต่แผ่นความคิดจะปรากฏออกมาให้เห็นเป็นบางครั้งเท่านั้น เมื่อชาวบ้านสงบนิ่งเพียงพอ จนเกิดเป็นความคิดแบบปิ๊งแว๊บขึ้นมา จึงจะเกิดเป็นแผ่นความคิดนะ ส่วนแผ่นคำพูดนั้น […]