Tag Archives: unlearn

ไว้วางใจในธรรมชาติ : surrender to the nature

เราไว้วางใจในธรรมชาติมากแค่ไหน อาจหมายถึงความไว้วางใจ ที่จะออกเดินทางเยี่ยงนักจาริกหลายท่านที่พบกับชีวิตใหม่ ภายหลังการเดินทางโดยไม่พกเงิน เพื่อเปิดโอกาสให้ชีวิตได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในที่ที่ไม่คุ้นเคย การสื่อสารผ่านภาษาใจ ในพื้นที่ที่เราไม่สามารถพูดสื่อสารกับคนท้องถิ่นได้ การเดินทางบนเส้นทาง แห่งความไว้วางใจในธรรมชาติ ในอีกมุมมองหนึ่ง ก็คือ การหมั่นดูแลเมล็ดพันธุ์ภายในของตนเอง บ่มเพาะพลังบวก ปล่อยผ่านอารมณ์ลบ ไว้วางใจในธรรมชาติเดิมแท้ภายใน และ เฝ้าสังเกต เหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ในมุมมองนั้น แม้อาจเป็นเหตุการณ์เดิม แต่เราจะพบว่า โอกาสดีๆ ของชีวิตนั้นมีมากมาย เหมือนโลกใบใหม่ ที่เต็มไปด้วยการชื่นชม ความสำนึกคุณ การขอบคุณ และ ความโชคดี ความหวังดี และ พยายามจัดแจงให้สิ่งนั้นเป็นอย่างนี้ สิ่งนี้เป็นอย่างนั้น ให้คนนั้นทำอย่างนี้ ให้คนนี้ทำอย่างนั้น ในห้วงขณะที่ จิตใจของเรากำลังเจือปนอยู่ด้วยความอยากเสียเอง เท่ากับการเขย่าตะกอนภายในจิตใจของเราให้ขุ่นขึ้นมาแล้วดื่มกิน เราแสดงความคิดเห็นออกไปในขณะที่ใจร้อนรน การแสดงออกบนพื้นฐานเหล่านั้น อาจหมายถึง เรายังไม่ได้ไว้วางใจในธรรมชาติเดิมแท้ภายในอย่างเพียงพอ เส้นทางชีวิต มีหลากหลายหนทาง เส้นทางที่เราเดินอยู่นั้น ไว้วางใจในธรรมชาติแค่ไหน

การฟังอย่างลึกซึ้ง : deep listening

การฟังอย่างลึกซึ้ง คือ การฟังด้วยใจที่เปิดรับ สามารถจับประเด็นได้ เข้าถึงความรู้สึกของผู้พูด จนไปถึงหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อประสานพลังให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมา ในขณะที่ฟัง คุณจำเป็นต้องตระหนักรู้ถึงเสียงภายในตนเอง ผ่อนคลายร่างกาย ปล่อยผ่านเสียงภายใน ขยับขยายพื้นที่ว่างภายในใจเพื่อให้การฟังของคุณสามารถโอบรับประสบการณ์ที่หลากหลาย แม้จะเป็นประสบการณ์ที่คุณไม่คุ้นชินได้ก็ตาม หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ให้สัมภาษณ์กับ โอปราห์ วินฟรีย์ เอาไว้ว่า “การฟังอย่างลึกซึ้งนั้น คือ การฟังที่สามารถบรรเทาความทุกข์ของคนพูด โดยเราสามารถเรียกอีกอย่างว่า การฟังด้วยความกรุณา (Compassionate Listening) เราฟังด้วยเจตนาเดียว คือ ช่วยให้เขาหรือเธอ ได้ปลดปล่อยให้ใจว่าง” การฟังอย่างลึกซึ้งในทฤษฎีตัวยู (ออตโต ชาร์เมอร์, 2563) ได้แบ่งการฟังออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ (1) I-in-Me (2) I-in-It (3) I-in-You และ (4) I-in-Now โดยมีรายละเอียดดังนี้ การฟังระดับที่ 1 “I-in-me” ในขณะที่ฟังคุณจะตัดสินสิ่งที่ฟัง จากประสบการณ์เดิมของคุณเอง การฟังจึงเป็นการเลือกฟังเฉพาะสิ่งที่ตรงกับความคิดเห็นเดิมของคุณ […]

เรียนรู้อย่างเขลา เล่นอย่างวัยเยาว์ : vulnerability

ทันทีที่ลืมตาดูโลก เราฝากชีวิตไว้กับผู้อื่นแบบ 100% เราพึ่งพาตนเองไม่ได้เลย เป็นช่วงเวลาที่อ่อนแอขั้นสุด (vulnerability) แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นช่วงเวลาที่มีการเปิดรับการเรียนรู้ขั้นสุดเช่นกัน เมื่อเราหัวเราะ เราเรียนรู้ว่าสิ่งนั้นปลอดภัย เมื่อเราร้องไห้ เราเรียนรู้ว่าสิ่งนั้นไม่น่าปรารถนา เราเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เรายังไม่ต้องใช้ความคิด เรากล้าลองผิดลองถูก โดยปราศจากความกลัว เราลองชิม ลองหยิบจับมาแล้วทุกอย่าง เกิดชุดความรู้ต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว วัยเด็ก เรามีความกลัวน้อยมาก ฝนตกก็แค่เย็นชุ่มฉ่ำ ความเปียกไม่ใช่เรื่องใหญ่โต เราทำตัวบ้าๆบอๆ ก็ได้ ไม่ต้องตั้งใจกับการเรียนรู้มาก กลับเป็นช่วงเวลาที่เกิดการเรียนรู้อย่างมากมาย ตกลงว่า การเรียนอย่างเคร่งในห้องเรียน นั้นเกื้อหนุนการเปิดรับการเรียนรู้ของเราหรือไม่ ? ในระหว่างทางที่เราเรียนรู้ เกิดชุดความเชื่อต่างๆมากมาย ในขณะเดียวกัน โลกแห่งความเป็นไปได้ของเราก็ค่อยๆแคบลงไปด้วย เราอาจยึดความเชื่อที่ว่า ความเข้มงวดในแบบแผน นำพาชีวิตสู่ความสำเร็จ หรือ เราอาจยึดความเชื่อที่ว่า ความยืดหยุ่นในชีวิต นำพาชีวิตสู่ความสำเร็จ เรายึดความเชื่อต่างๆ จนอาจถึงขั้นรับไม่ได้ กับผู้อื่น ที่มีชุดความเชื่อตรงข้ามกัน เราเลือกค้อน แล้วทิ้งกรรไกรไป หรือ เลือกกรรไกรแล้วทิ้งค้อนไป ความรอบรู้ของเราพรากเครื่องมืออันวิเศษมากมายไปจากเรา อันที่จริงแล้ว ในความเขลาของวัยเยาว์ เราเคยมีทั้งค้อนสำหรับตอกตะปู […]

รันกระบวนการ งานกระบวนกร : run wisdom process

กระบวนกร (facilitator) คือ ผู้อำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ในขณะที่ กระบวนกรแบบจิตตปัญญา (contemplative facilitator) คือ ผู้นำพากระบวนการเรียนรู้ เหนี่ยวนำให้เกิดการค้นพบสรรพวิชาจากด้านใน เกิดการก้าวพ้นข้อจำกัด ขยับขยายพื้นที่ของจิตใจ โดยที่สุดแล้ว กระบวนกร คือ ผู้นำพาให้เกิดชุมชนที่ทุกคนฝึกปฏิบัติร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ (community of practice) งานเขียนนี้ ผู้เขียนได้ตกผลึกกระบวนท่าพื้นฐานสำหรับการรันกระบวนการ จากประสบการณ์ตรงในการเป็นกระบวนกรแบบจิตตปัญญา (contemplative facilitator) แบ่งกระบวนการ ออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ รู้ (comprehension) ละ (abandonment) เห็น (realization) และ ทำ (practices) RUN WISDOM PROCESS หนึ่ง) รู้ : comprehension สร้างพื้นที่ปลอดภัย มีชุมชนแห่งความกรุณา (compassionate community) โอบรับการเรียนรู้ จากนั้นนำพาผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ หรือ ประสบการณ์ใหม่ๆ เผชิญความไม่คุ้นชิน ที่พอเหมาะพอดี […]