Tag Archives: wholeness

ความงามอันนิรันดร์ : spacetime

การมองเห็นภาพอดีต ในมุมมองใหม่ๆ ทำให้พบว่า ในแต่ละวัน นอกจากมุมมองที่เราเคยจมดิ่งกับเหตุการณ์ตามกาลเวลาในครั้งนั้นแล้ว ซึ่งอาจทำให้เราอึดอัด น้อยใจ หรือ โกรธเคือง ยังมีมุมมองอื่น ที่เราสามารถมองมันได้อย่างสบายๆ อยู่ด้วย เปรียบเหมือนเห็นภาพอดีต-ปัจจุบัน-อนาคต ซ้อนทับกันอยู่ในคราวเดียว การตระหนักรู้ว่ามีอีกมุมมองหนึ่ง ที่อยู่เหนือกาลเวลา การมองจากมุมนั้น ช่วยให้เราโต้คลื่นในมิติแห่งกาลเวลา โดยไม่จมดิ่งลงไป มิติแห่งกาลเวลานั้นสวยงาม ทุกอย่างแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ ความแปรเปลี่ยนสร้างความหลากหลายที่สวยงามอย่างลึกซึ้ง ณ ช่วงขณะนั้น ไม่มีสิ่งใดเทียบเทียม เมื่อเห็นความงามในความแปรเปลี่ยน กาลเวลาก็มิอาจขวางกั้น ความงามอันนิรันดร์

การฟังอย่างลึกซึ้ง : deep listening

การฟังอย่างลึกซึ้ง คือ การฟังด้วยใจที่เปิดรับ สามารถจับประเด็นได้ เข้าถึงความรู้สึกของผู้พูด จนไปถึงหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อประสานพลังให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมา ในขณะที่ฟัง คุณจำเป็นต้องตระหนักรู้ถึงเสียงภายในตนเอง ผ่อนคลายร่างกาย ปล่อยผ่านเสียงภายใน ขยับขยายพื้นที่ว่างภายในใจเพื่อให้การฟังของคุณสามารถโอบรับประสบการณ์ที่หลากหลาย แม้จะเป็นประสบการณ์ที่คุณไม่คุ้นชินได้ก็ตาม หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ให้สัมภาษณ์กับ โอปราห์ วินฟรีย์ เอาไว้ว่า “การฟังอย่างลึกซึ้งนั้น คือ การฟังที่สามารถบรรเทาความทุกข์ของคนพูด โดยเราสามารถเรียกอีกอย่างว่า การฟังด้วยความกรุณา (Compassionate Listening) เราฟังด้วยเจตนาเดียว คือ ช่วยให้เขาหรือเธอ ได้ปลดปล่อยให้ใจว่าง” การฟังอย่างลึกซึ้งในทฤษฎีตัวยู (ออตโต ชาร์เมอร์, 2563) ได้แบ่งการฟังออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ (1) I-in-Me (2) I-in-It (3) I-in-You และ (4) I-in-Now โดยมีรายละเอียดดังนี้ การฟังระดับที่ 1 “I-in-me” ในขณะที่ฟังคุณจะตัดสินสิ่งที่ฟัง จากประสบการณ์เดิมของคุณเอง การฟังจึงเป็นการเลือกฟังเฉพาะสิ่งที่ตรงกับความคิดเห็นเดิมของคุณ […]

สี่สภาวะในวงสนทนา : generative dialogue

รวมแล้วแยก แยกแล้วรวม สี่สภาวะที่เกิดขึ้น ในวงสนทนา หนึ่ง) เริ่มต้นล้อมวง รวมตัว เริ่มต้นแนะนำตัวที่เป็นเปลือกนอก แบ่งปันความคิดเห็นในแบบสุภาพ เกรงใจ กลัวเสียงวิจารณ์ภายนอก (talking nice) สอง) เริ่มแยกตัวเองจากองค์รวม มีความคิดเห็นเป็นตัวของตัวเอง แสดงจุดยืน เลือกข้างตามเหตุผล ชุดข้อมูล ความคิด ที่เคยมีมาก่อน (talking tough) สาม) เริ่มกลับมาสำรวจตนเอง ได้ยินเสียงภายใน มีการชั่งใจ ตั้งคำถาม สืบค้น สะท้อนจากเสียงภายในของตัวเองต่อส่วนรวม (reflective dialogue) สี่) มีสติต่อเนื่องอยู่ในปัจจุบัน (presencing) เชื่อมโยงเห็นองค์รวม เกิดบทสนทนาที่ไหลเลื่อน (flow) เกิดปัญญากลุ่ม (collective wisdom) ที่สั่งสม เกื้อหนุนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ แม้เพียงคิดในใจ ความคิดนั้นก็ล่วงรู้ถึงกันได้ ผ่านสนามแห่งปัญญา (generative dialogue)   นอกจากนี้ ความสามารถในการการรับรู้อารมณ์ความรู้สึก (empathy) ของตนเองและผู้อื่น อย่างซื่อตรงเป็นปัจจุบัน คือ […]

สนทนาสะท้อนปัญญา : run collective wisdom

สนทนาสะท้อนปัญญา แบ่งได้เป็น 2 แนวทาง แนวทางแรก คือ การสนทนาที่เน้นให้เกิดผลลัพธ์ (productive conversation) โดยมีวัตถุประสงค์วางไว้ล่วงหน้า เพื่อเน้นหาทางออกร่วมกัน อีกแนวทางหนึ่งก็คือ ไดอะล็อกแท้ (pure dialogue) เป็นการสนทนาโดยไม่มีหัวข้อตายตัว ให้เวลา รอคอยได้ ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการค้นพบทางปัญญาแบบฉับพลัน (intuition) ปัจจัยที่เกื้อหนุนการสนทนา สังฆะ หรือ ชุมชนที่อบอุ่นนั้นเกื้อหนุนการสนทนา ชุมชนที่ทุกคนมีพื้นที่ว่างภายในจิตใจ ให้ความเท่าเทียม ไว้ใจกันอย่างเต็มเปี่ยม มีความศรัทธา เชื่อมั่นในคุรุภายใน เคารพซึ่งกันและกัน มีบรรยากาศที่อบอุ่นเหมือนอยู่บ้าน รู้สึกปลอดภัย เป็นครอบครัวเดียวกัน มีความผ่อนคลาย และ ความท้าทาย อยู่รวมกันอย่างพอเหมาะพอดี (flow state) ทักษะการฟังในวงสนทนา การฟังเริ่มต้นเมื่อผู้ฟังเปิดพื้นที่ว่างภายในใจ มีสมาธิในการฟัง อยู่กับความเงียบได้ หลอมรวมการฟังเป็นหนึ่งเดียวกับความเงียบ (listen = silent) การฟังเบื้องต้น คือ ความสามารถจับประเด็นได้ ขั้นต่อมา คือ ความสามารถในการรับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูดด้วย การฟัง คือ ทักษะที่ต้องการการฝึกฝน เพื่อให้สามารถฟังได้ ด้วยใจที่เปิดกว้าง เป็นอิสระจากความอยากที่จะพูดแบบทันทีทันใด […]

จิตเป็นหนึ่ง ความคิดเป็นอิสระ : Oneness

ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา ไม่ถูกขังอยู่ในมายาการ ไม่ว่าด้านบวกหรือด้านลบของตัวเอง อันสามารถนำไปสู่ความอ่อนไหวเป็นพิเศษ ที่จะรับรู้อารมณ์ของคนอื่นและ สามารถรับรู้วาระของกลุ่มได้ การรู้เท่าทันความจริงในปัจจุบันขณะเช่นนี้ จะทำให้เราสามารถเชื่อมต่อภายในตัวเองได้อย่างซื่อสัตย์ และ สามารถเชื่อมต่อสู่ชุมชนด้วยพลังแห่งความศรัทธาซึ่งกันและกัน นี่คือ สภาวะหนึ่งเดียว (oneness) ของการเรียนรู้ร่วมกัน สภาวะหนึ่งเดียวในวงสนทนา สภาวะหนึ่งเดียว (oneness) คือ การหลอมรวมหัวใจของเราให้เป็นหนึ่งเดียวกับหัวใจของชุมชน มีความศรัทธาต่อตัวเองและชุมชน เป็นกุญแจที่จะนำพาเราเข้าสู่บรรยาการแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน การเชื่อมโยงจุดร่วม ของความคิดเห็นต่างๆ อย่างรอบด้าน 360 องศา (wholeness) จากผู้เรียนรู้ภายในชุมชน โดยไม่ด่วนตัดสิน จะค่อยๆ ก่อเกิดพลังแห่งความเป็นมิตรและไว้ใจ ตลบอบอวลเป็นมณฑลแห่งพลัง นำพาผู้เรียนรู้เข้าสู่สภาวะที่พร้อมเรียนรู้ได้อย่างดีที่สุด (optimum learning state)  สภาวะหนึ่งเดียวนี้ เกื้อกูลให้ผู้เรียนรู้ทุกคนเบาสบายภายใน พร้อมเปิดเผย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในขณะที่ จะไม่รีบร้อนแยกแยะ แตกประเด็นปัญหา ที่มากมายขึ้นโดยทันทีทันใด เหมือนอย่างการอธิปราย (discussion) ความไม่รู้ คือ ของขวัญ ปัญญาแห่งความไม่รู้ยิ่งใหญ่มหาศาล มากมายกว่าความรู้ชุดเดิมที่เคยมี การพบความไม่รู้ จึงคือ ของขวัญที่ล้ำค่า ความพยายามถาโถมความรู้ของตนสู่ชุมชน หรือ ผู้เรียนรู้ อาจทำให้ความรู้นั้นท่วมท้น ก่อเกิดกำแพง […]