Tag Archives: willing

การฟังอย่างลึกซึ้ง : deep listening

การฟังอย่างลึกซึ้ง คือ การฟังด้วยใจที่เปิดรับ สามารถจับประเด็นได้ เข้าถึงความรู้สึกของผู้พูด จนไปถึงหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อประสานพลังให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมา ในขณะที่ฟัง คุณจำเป็นต้องตระหนักรู้ถึงเสียงภายในตนเอง ผ่อนคลายร่างกาย ปล่อยผ่านเสียงภายใน ขยับขยายพื้นที่ว่างภายในใจเพื่อให้การฟังของคุณสามารถโอบรับประสบการณ์ที่หลากหลาย แม้จะเป็นประสบการณ์ที่คุณไม่คุ้นชินได้ก็ตาม หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ให้สัมภาษณ์กับ โอปราห์ วินฟรีย์ เอาไว้ว่า “การฟังอย่างลึกซึ้งนั้น คือ การฟังที่สามารถบรรเทาความทุกข์ของคนพูด โดยเราสามารถเรียกอีกอย่างว่า การฟังด้วยความกรุณา (Compassionate Listening) เราฟังด้วยเจตนาเดียว คือ ช่วยให้เขาหรือเธอ ได้ปลดปล่อยให้ใจว่าง” การฟังอย่างลึกซึ้งในทฤษฎีตัวยู (ออตโต ชาร์เมอร์, 2563) ได้แบ่งการฟังออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ (1) I-in-Me (2) I-in-It (3) I-in-You และ (4) I-in-Now โดยมีรายละเอียดดังนี้ การฟังระดับที่ 1 “I-in-me” ในขณะที่ฟังคุณจะตัดสินสิ่งที่ฟัง จากประสบการณ์เดิมของคุณเอง การฟังจึงเป็นการเลือกฟังเฉพาะสิ่งที่ตรงกับความคิดเห็นเดิมของคุณ […]

นิทานเรื่อง ธาราคีรี : restoring peace within yourself

เราทุกคน คือ ผู้ครองอาณาจักรแห่งลุ่มน้ำอันยิ่งใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยแม่น้ำ 5 สายไหลมาบรรจบกัน ? แม่น้ำสายที่หนึ่ง ชื่อ รูปธารา เป็นแม่น้ำใกล้ตัว มองเห็นได้ชัด แต่เราไม่ค่อยจะรู้จักมันดีมากนัก ? แม่น้ำสายที่สอง ชื่อ เวทนาธารา ประกอบด้วยหยดน้ำวิเศษ 3 แบบ คือ แบบที่หนึ่งให้ความสุข แบบที่สองให้ความทุกข์ แบบที่สามให้ความรู้สึกเป็นกลางๆ ? แม่น้ำสายที่สาม ชื่อ สัญญาธารา เป็นแม่น้ำแห่งความทรงจำในอดีต ที่สร้างคุณค่า และ ความหมายต่างๆ ให้เกิดขึ้นกับอาณาจักรของเรา ? แม่น้ำสายที่สี่ ชื่อ สังขารธารา กระแสของแม่น้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ไหลผ่านมาแล้วก็ผ่านไป หลากหลายรูปแบบ บางครั้งก็เชี่ยวกราด บางครั้งก็ไหลเย็น ตลอดทั้งวัน เรามักไหลล่องตามกระแสน้ำสายนี้ อย่างไม่รู้ตัว ? แม่น้ำสายสุดท้าย สายที่ห้า ชื่อ วิญญาณธารา เป็นแม่น้ำที่สะท้อนให้เห็นทุกสรรพสิ่งของเมือง ยิ่งในยามที่กระแสของแม่น้ำสงบ ก็ยิ่งสะท้อนให้เห็นความจริงได้ชัด เราไม่ใช่ผู้ครองเมืองที่ดีมากนัก เพราะเรากลัวความจริงบางอย่าง […]

กระบวนกร สะท้อนธรรม สำหรับโค้ช: The Art of Living

งานครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมมีทักษะการโค้ช การฟัง และ พื้นฐานของสติที่ดี ซึ่งเกื้อหนุนให้เกิดการสะท้อนร่วมกัน เกิดเป็นวงสนทนาแห่งสติได้ไม่ยาก การให้ห้องเรียนแรก คือ ตัวของผู้เรียนเอง จึงทำให้การเรียนรู้ลงสู่ฐานใจได้ง่าย บวกกับการเชื้อเชิญให้ผู้เรียนเป็นมิตรกับความเงียบด้วยถ้อยคำว่า “เราคือส่วนหนึ่งของความเงียบ” ได้ช่วยลดการครุ่นคิดแบ่งแยกในระหว่างความเงียบ ผู้เรียนจึงดำรงอยู่ในความเงียบ ได้แบบลื่นไหล เป็นช่วงเวลาที่ได้ใคร่ครวญลงสู่ฐานใจ แทนที่จะพยายามทำลายความเงียบนั้น ปัญญาในวงสนทนาจึงเป็นอิสระ เกิดการเรียนรู้ที่ขยายจากห้องเรียนของตัวเอง สู่การเรียนรู้ระหว่างห้องเรียนของแต่ละคน (Collective Intelligence) ปรากฏการณ์นี้ จะยังคงเกิดขึ้น แม้สิ้นสุดเวลาของ Workshop ไปแล้ว กระบวนการเรียนรู้ในครั้งนี้ เริ่มต้นจากการจับประเด็น ในช่วงที่ผู้เรียนรู้ Check-in บอกเล่าถึงความเข้าใจ และ ความสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับคำว่า “The Art of Living” สรุปได้คำสำคัญต่าง ๆ คือคำว่า “ครูกระบวนกร”, “สุนทรียสนทนา”, “อัตตา”, “ความเงียบ”, “ฐานใจ” และ “ความตาย” แล้วนำเอาคำต่าง ๆ ที่ได้มาจากช่วง Check-in มาเรียบเรียงเป็นกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นในวันนี้ ขอบคุณห้องเรียนทุกห้อง […]

กระบวนกรสัญจร ล่องแดนใต้ : Facilitator workshop in the south of Thailand.

เริ่มต้นปี 2559 ด้วยการติดตาม ร่วมทีม FA (Facilitator) กับอาใหญ่ วิศิษฐ์ วังวิญญู เดินทางล่องใต้กับ 2 Workshop ติดต่อกัน ได้รับประสบการณ์ และ ได้เรียนรู้วิถีแห่งกระบวนกร ทั้งใน Workshop และ นอกเวลา Workshop อาใหญ่เปิดให้ทีม FA ร่วมคิดวางแผนกระบวนการสอนอยู่ทุกระยะ ระหว่างช่วงพักในแต่ละวัน และ ระหว่างมื้ออาหาร เช้า กลางวัน เย็น และ รอบค่ำด้วย ขอบอกเล่าประสบการณ์การเรียนรู้ใน Workshop แรก คืนสู่ความเป็นเลิศ โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร ในองค์กรการศึกษาแห่งหนึ่ง เป็นเวลา 3 วัน (4-6 มกราคม 2559) ดังต่อไปนี้ครับ Workshop คืนสู่ความเป็นเลิศ วันที่ 1  (4 มกราคม 2559) ช่วงเช้า : หลังจากการ […]

42.195 km ทุกก้าว คือ เส้นชัย : Bangkok Marathon 2015

เวลาตี 2 ของวันอาทิตย์ที่ 15 พ.ย. 58 ในขณะที่ทุกคนหลับอยู่ มีนักวิ่งกลุ่มหนึ่งออกตัว เพื่อพิชิตเป้าหมายการวิ่ง Full Marathon ระยะ 42.195 km ในการแข่งขัน Bangkok Marathon 2015 ผมได้เข้าร่วมประสบการณ์อันยิ่งใหญ่ ในครั้งนี้ด้วย   การวิ่งในช่วง 10 km แรก กับ 10 km สุดท้าย ให้ความรู้สึก ต่างกันลิบลับ 10 km แรก สนุก สบาย วิ่งชิวๆ ในขณะที่ 10 km สุดท้าย เจ็บปวด แทบคลาน แต่ก็เข้าไปใกล้เส้นชัยมากกว่า ถ้าให้แลกกลับไปเริ่มวิ่งใหม่ก็คงไม่เอา ถึงตรงนี้ ก็เหลือเพียงว่าจะสู้ต่อ หรือจะ “หยุดวิ่ง” !!! สมรภูมิระหว่าง ความคิดลบ และ ความคิดที่จะสู้ต่อ เกิดขึ้นในช่วง 10 km สุดท้าย ความคิดลบ บอกว่า หยุดวิ่งดีกว่า  “เพราะทำลายสถิติตัวเองแล้ว” “นี่มันไม่ใช่ระยะวิ่งของมนุษย์” “ไปเล่นกีฬาที่สบายๆดีกว่ามั้ย” […]