ความสำคัญของภาวะผู้นำกระบวนการ : The Importance of Facilitative Leadership

วัฒนธรรมการบริหารคนแบบทั่วไปในปัจจุบัน ถูกเรียกว่า “Autocratic Behaviorism.” โดยการใช้อำนาจตามตำแหน่ง (Authority) ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งประจำหรือ ตำแหน่งชั่วคราวตามโครงการ เข้าควบคุมพฤติกรรมผู้อื่น ผ่านการให้รางวัล และ การลงโทษ ผู้บริหารที่จะใช้วิธีการควบคุม (The Autocratic Behavioristic Approach) จำเป็นต้องมี 2 อย่าง ได้แก่ เวลา และ อำนาจ ถึงแม้ผู้บริหารถนัดที่จะควบคุม แต่วิธีการนี้ ก็เริ่มจะไม่เพียงพอ ตามสภาพการทำงานในปัจจุบันแล้วนะครับ เพราะไปรบกวนด้านผลิตผล (Productivity) และ การทำงานร่วมกัน (Collaboration) การทำงานในปัจจุบัน ต้องการการตัดสินใจที่รวดเร็วมากขึ้น องค์กรขนาดเล็กที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนสำคัญก็เพราะตัดสินใจได้เร็วกว่า เมื่อองค์กรใหญ่ขึ้น ก็จำเป็นต้องมีวิธีการใหม่ๆ เพื่อรักษาจุดแข็งเดิมในด้านนี้ไว้ ในขณะที่การรวบอำนาจ ในองค์กรขนาดใหญ่ กำลังทำให้ทุกอย่างช้า และ อาจจะช้าเกินไปในยุคดิจิตอล การขยับจากการบริหารแบบควบคุมด้วยอำนาจ มาเป็นการโค้ช และ สร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุน ให้ทีมงานของเราได้บริหารตนเอง (Self-manage) สร้างแรงจูงใจได้ด้วยตนเอง (Self-motivate) จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ เรียกว่า […]

ก้าวสู่โหมดท็อปฟอร์ม : Deal with Defense Mechanisms

จากเกมการแข่งขันฟุตบอลโลก World Cup Moscow ในนัดประเดิมสนามของแต่ละทีม หลายคนก็ได้เห็นฟอร์มของทีมที่ตัวเองเชียร์อยู่ รวมถึงฟอร์มของนักเตะระดับโลก อย่างเช่น โรนัลโด ทีมชาติโปรตุเกส และ เมสซี่ ทีมชาติอาร์เจนติน่าด้วย ในนัดประเดิมสนามนั้น โรนัลโด้ ซัดแฮตทริกได้อย่างสวยงาม แต่เมสซี่ เผด็จศึกจากการเตะจุดโทษไม่เข้า ฟอร์มของนักเตะแต่ละคนได้ส่งผลต่อผลการแข่งขัน ดูเหมือนว่าฟอร์มการเล่นของนักเตะนั้น สามารถแบ่งออกได้คร่าว ๆ เป็น 2 โหมด และเราก็มักจะเรียกกันว่า โหมดท็อปฟอร์ม และ โหมดฟอร์มตก ในชีวิตของเราก็เช่นกันครับ เราสามารถแบ่งโหมดของชีวิตเพื่อการศึกษาเรียนรู้ ได้เป็น 2 โหมด คือ โหมดท็อปฟอร์ม และ โหมดฟอร์มตก เวลาท็อปฟอร์ม เราจะอารมณ์ดี ใจสบาย ทำงานได้ต่อเนื่อง เกิดผลงาน ได้มาตรฐาน ลำดับความสำคัญของงานได้อย่างดี ถึงมีงานมาก ก็รู้ว่าทำได้ทีละอย่าง มีความสัมพันธ์ที่ดี สานสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วยการพูดคุยเชิงบวก ชื่นชมผู้อื่นอยู่เสมอ สร้างบรรยากาศแห่งความไว้วางใจ พร้อมทั้งยังเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างง่าย ๆ ด้วย แต่เมื่อฟอร์มตก […]

โมเดลการพัฒนาผู้บริหารใหม่ : New Executive Development Model

โมเดลการพัฒนาผู้บริหารใหม่ : New Executive Development Model (New EDM) เป็นแนวคิดหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารใหม่ ด้วยการพัฒนาอย่างสมดุลทั้งการทำงานระดับบุคคลและระดับสังคม ทำให้เกิดคุณภาพด้านในจิตใจ  ด้านทักษะความสามารถ และ ด้านสังคม สามารถแสดงท่าที จุดยืน และ ตอบสนองได้ตามบทบาทอย่างเหมาะสม เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจพัฒนาตนเองให้สามารถบริหารจัดการตนเอง และ ก้าวสู่การเป็นผู้บริหารใหม่ ที่สามารถบริหารจัดการงานต่างๆ ให้กับองค์กรได้ โมเดลการพัฒนาผู้บริหารใหม่ : New Executive Development Model (New EDM) เกิดจากการตกผลึกจากประสบการณ์ของผู้เขียน ที่ได้มีโอกาสจัดโปรแกรมพัฒนาด้านภาวะผู้นำให้กับผู้บริหารขององค์กร (Leadership Development Program, LDP) ผสมผสานเข้ากับองค์ความรู้ต่าง ๆ เช่น เรื่อง Four Stages of Competence หรือ The Conscious Competence Learning Model ที่แบ่งขั้นตอนการพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ของมนุษย์ออกเป็น 4 […]

ก้าวตามบทบาทที่ใช่ : Equip with the Right Role

นอกจากบทบาทต่าง ๆ ในที่ทำงาน เรายังมีบทบาทอื่น ๆ อีกมากมาย เวลาอยู่ที่บ้านเรามีบทบาทตามสถานภาพในครอบครัว เวลาอยู่ในชุมชน ชมรม สมาคมต่าง ๆ เราก็จะมีบทบาทแตกต่างกันไป บางบทบาทมีความซ้อนทับคล้ายคลึงกัน แต่บางบทบาทก็มีลักษณะที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ท่าทีต่อการสวมใช้บทบาทในแต่ละขณะนั้น จึงเป็นศิลปะขั้นสูงของชีวิตเลยทีเดียว การสวมใช้บทบาทที่เหมาะสม นอกจากจะช่วยส่งผลที่ดีต่อตัวเราเองแล้ว ยังส่งผลที่ดีต่อผู้คนรอบตัวที่เราอยู่ร่วมด้วย เชิญชมก้าวที่ 8 ก้าวตามบทบาทที่ใช่ (Equip with the Right Role) ในรูปแบบวีดีโอ คลิกที่นี่ => https://youtu.be/RHyrWwGDG3g แม้ในที่ทำงานเราจะสวมบทบาทในการเป็นผู้นำ แต่บางครั้งเราก็สามารถสวมบทบาทในการเป็นผู้ตามได้เช่นเดียวกัน การลดบทบาทผู้ชี้นำ สั่งการ บอกสอน ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ช่วยเสริมพลังให้กับทีมงานของเรา (Empower) ทีมงานของเราจะกล้าคิด กล้าทำ ได้เริ่มต้น และ พัฒนาต่อไป โดยในช่วงของการพัฒนา อาจใช้เวลาไม่มากก็น้อย ผู้บริหารใหม่อาจรู้สึกหวั่นใจ ไม่มั่นคง การประคับประคองบทบาทในตอนนี้ อาจไม่ง่าย เพราะมีความคิดที่ค่อนข้างสมเหตุสมผลรบกวน (Interference) ศักยภาพถูกบั่นทอน ประสิทธิภาพลดน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ดังสมการนี้ครับ Performance […]

ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : Life and Career Skills

ทักษะชีวิตและอาชีพในวันนี้ ต้องการมากไปกว่าทักษะการคิด และ ความรู้ด้านเนื้อหา ความสามารถที่จะนำพาชีวิตและอาชีพที่สลับซับซ้อน ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารที่มีการแข่งขันระดับโลก ต้องอาศัยความตั้งใจในการพัฒนาทักษะด้านชีวิตและอาชีพอย่างเพียงพอ (The Partnership for 21st Century Learning, 2015) ประกอบด้วย ความยืนหยุ่น และ การปรับตัว (Flexibility and Adaptability) การปรับตัว (Adapt to Change) ปรับไปตามบทบาท งาน ความรับผิดชอบ ตาราง และ สภาพแวดล้อม ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในสภาพที่คลุมเครือ ลำดับความสำคัญเกิดการเปลี่ยนแปลง ความยืดหยุ่น (Flexible) ให้ข้อเสนอแนะอย่างมีประสิทธิภาพ ดูแลด้วยทัศนคติเชิงบวกต่อคำยกย่อง ความล้มเหลว และ คำวิจารณ์ การริเริ่ม และ นำพาตนเอง (Initiative and Self-direction) บริหารจัดการเป้าหมาย และ เวลา (Manage Goals and Time) ตั้งเป้าเกณฑ์ความสำเร็จทั้งที่จับต้องได้ และ […]

คณิตศาสตร์บูรณาการ โดย เคน วิลเบอร์ : Integral Mathematics by Ken Wilber

คณิตศาสตร์บูรณาการ โดย เคน วิลเบอร์ Integral Mathematics by Ken Wilber . ผลงานของ Ken Wilber เป็น Soft Skills ที่ลึกล้ำมาก การจะเข้าใจให้ได้ก็เป็นเรื่องที่ท้าทายเช่นกัน แต่พอเราเข้าใจในส่วนไหนอย่างถ่องแท้ ก็จะพบว่ามันคือพื้นฐานที่ดีมาก ๆ ในการต่อยอดสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้ที่แน่นหนา . งานเขียนนี้ ผมเขียนแบบกระชับ ถ้าอ่านแล้วมึน ๆ นั่นถือว่าปกติแล้ว แต่ถ้ามึนมากจน “มึนติ๊บ” ให้หยุดอ่านก่อนได้ครับ ในงาน In-House Training ผมก็ไม่ได้สอนลึกถึงขนาดนี้นะ ^__^ . . จากภาพ 8 วิธีการหลัก (8 Major Methodologies) ที่ให้มุมมอง บนมุมมอง บนมุมมอง ฟังแล้วก็งงใช่ไหมครับ ฟังซ้ำอีกที มุมมอง บนมุมมอง บนมุมมอง เอาเป็นว่ามันซ้อนกันรวมแล้วมี 3 มุมมองนะ […]

การผสมผสาน จานสีแห่งอารมณ์ : The Wheel of Emotions

ศ.ดร.โรเบิร์ต พลัทชิค (Robert Plutchik)ได้สร้างสรรค์วงล้อแห่งอารมณ์ (The Wheel of Emotions) ขึ้นมา โดยเสนอว่าอารมณ์หลัก (Basic Emotions) ประกอบด้วย 4 คู่ตรงข้าม ได้แก่ ความรื่นเริง (Joy) คู่กับ ความเศร้า (Sadness) ความโกรธ (Anger) คู่กับ ความกลัว (Fear) ความวางใจ (Trust) คู่กับ ความรังเกียจ (Disgust) ความประหลาดใจ (Surprise) คู่กับ ความคาดหวัง (Anticipation) โดยในแต่ละอารมณ์หลัก ยังประกอบด้วยความเข้มข้น (Intensity) ทางอารมณ์ ที่ทำให้เกิดอารมณ์ต่าง ๆ ขึ้นมา งานเขียนนี้ของ อ.รัน ธีรัญญ์ มีการอัพเดทใหม่ กรุณากดอ่านที่นี่

9 แก่นสารสำคัญสำหรับผู้บริหารใหม่ : THE 9 ESSENCES FOR NEW EXECUTIVE

จากประสบการณ์การเป็นผู้บริหารองค์กร และ การได้สนทนาสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้บริหารระดับสูงในหลายองค์กร รวมถึงการเป็นที่ปรึกษาโปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นำให้กับองค์กร พบว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีเมื่อผู้เรียนได้ฝึก “รู้สึกตัวกับสิ่งที่เคยคุ้น และ ฝึกทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย“ ภายใต้เงื่อนไขว่า บรรยากาศในการเรียนเหมาะสม และ ผู้เรียนต้องมีทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้แบบผ่านประสบการณ์ด้วย เนื่องจาก หากเผชิญกับประสบการณ์ต่าง ๆ ด้วยอารมณ์เชิงลบ การเรียนรู้พื้นที่ใหม่ ๆ ภายในจิตใจก็จะไม่เกิดขึ้น การเริ่มต้นเข้าสู่พื้นที่ใหม่ ๆ ภายในจิตใจ อุปมาเหมือนกับ ประตูตัวตนเริ่มถูกเคาะ แต่ยังไม่เปิดออก เพราะกลัวสูญเสียการควบคุม กลัวไม่เก่ง กลัวไม่ดี กลัวไม่ถูก กลัวไม่ฉลาดเหมือนเก่า กลัวความไม่รู้ ดำรงอยู่กับการเรียนรู้ได้ไม่นาน อยากรู้เร็ว ๆ โดยไม่ต้องฝึก เนื่องจาก สมองใช้กลไกปกป้องตัวตน พยายามกลับมาเป็นแบบที่ถนัด ใช้ตัวตนเดิม ๆ คิดออกนอกตัว ออกห่างจากจิตใจตนเอง จึงลืมรับผิดชอบความรู้สึกของตนเอง เมื่อสภาวะด้านอารมณ์ปั่นป่วนจะถ่ายเทไปนอกตัวโดยการโทษสิ่งอื่น คนอื่น ที่ห่างตัวตน หรือ กลุ่มตนออกไป คำพูดจึงเต็มไปด้วยแง่ลบ ตัดสินคนอื่น หรือ ตัดพ้อตนเอง 9 แก่นสารสำคัญสำหรับผู้บริหารใหม่ (THE […]

ถ่อมตน และ บ่มเพาะ : Keep a Low Profile

ช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 เติ้ง เสี่ยวผิง เสนอวลีเด็ดทางการทูตไว้ว่า “Keep a Low Profile” คำนี้คงไม่ได้หมายความให้เก็บเนื้อเก็บตัวแต่ไม่ยอมพัฒนาอะไรเลย จากการทบทวนพบว่าน่าจะหมายถึง การถ่อมตน พร้อม ๆ กับการบ่มเพาะพัฒนาจากภายใน โดยไม่รีบร้อนป่าวประกาศบอกใคร ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการรักษามิตรภาพรอบด้าน และ เพิ่มสมาธิในการบ่มเพาะด้วย การปูพื้นฐานทางวิชาการ และ อุตสาหกรรมหนักของประเทศจีน สนับสนุนให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ในปัจจุบัน ได้รับการพัฒนาด้วยวัตถุดิบจากภายในประเทศ เช่น พลาสติก เคมี เหล็ก และ โลหะต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังได้นำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยี และ แบรนด์ของตนเองอีกด้วย หากเราลองหยิบยกแนวทาง “Keep a Low Profile” ของ เติ้ง เสี่ยวผิง มาปรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเอง อาจถอดเป็นยุทธศาสตร์ออกมาได้ 2 ข้อ คือ การถ่อมตน และ การบ่มเพาะ หนึ่ง.) […]

สอนให้ฝึก ฝึกไม่สอน : Teaching How to Practice

ระหว่างที่ผมกำลังศึกษาเรื่อง “Facilitative Leader” ให้ครอบคลุมลงลึกมากขึ้นทั้งภาคปฏิบัติและทฤษฎี ก็พบเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจมาก ๆ ครับ คิดว่าน่าสอดคล้องกับประสบการณ์ตรงของใครหลาย ๆ คน ซึ่งจะทำให้เข้าใจเรื่อง “Facilitative Leader” ในเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็วครับ เรื่องเล่านี้จะมีประโยชน์มาก ๆ กับผู้นำที่กำลังสนใจทักษะการสอนงานที่ทันสมัย รวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่ต้องการแนวคิด ในการสอนลูก ๆ หลาน ๆ ด้วยครับ ในปี 2017 มีนักการศึกษาจีน 3 คน ได้ร่วมกันเสนอรูปแบบใหม่ของภาวะผู้นำสากล (International Leadership) โดยเรียกกว่า “International Facilitative Leadership” ประกอบด้วย 4 คุณลักษณะ คือ มีความเป็นผู้นำร่วม (Collective Leadership) มากกว่าเป็นผู้นำแบบมหาอำนาจ (Hegemonic Leadership) มีความเป็นผู้นำแบบดึงดูดใจ (Attractive Leadership) มากกว่าเป็นผู้นำแบบบีบบังคับ (Coercive Leadership) มีความเป็นผู้นำแบบชนะร่วมกัน (Win-Win Leadership) […]