ออกรบสยบตนเอง : Fourfold Development

ขงจื้อ กล่าวว่า “ผู้ที่ชนะตนเองได้ คือ ที่สุดแห่งนักรบ” (He who conquers himself is the mightiest warrior.) ที่เป็นเช่นนั้นอาจเพราะ กระบวนการด้านในของชีวิตมนุษย์ มีความโกลาหล ซับซ้อน ลุ่มลึก ยิ่งกว่าสงครามใด ๆ ผมคิดไปถึงสิ่งที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เขียนไว้ในหนังสือ “บทนำสู่พุทธธรรม ชีวิตงาม สังคมดี ธรรมชาติเป็นรมณีย์” ท่านได้กล่าวถึงการพัฒนาชีวิตเอาไว้เป็น 4 ส่วน ได้แก่ กายภาวนา, ศีลภาวนา, จิตตภาวนา และ ปัญญาภาวนา ซึ่งท่านได้เทียบเคียงเป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วยว่าคือ Physical Development, Social Development, Emotional Development และ Wisdom Development ตามลำดับ และ เรียกรวมกันเป็นภาษาอังกฤษว่า “Fourfold Development” ขอสรุปพร้อมอุปมาเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างกระชับในเบื้องต้น ดังต่อไปนี้ครับ […]

เมื่อไม่เป็น ก็เป็นไปได้ : Adaptability and Possibility

แท้จริงแล้วธรรมชาติแปรเปลี่ยนไปตลอดเวลา เซลล์ในร่างกายของเราเองก็แปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา แม้สิ่งที่เราคิดว่าเป็นเราอยู่ในปัจจุบัน เพียงเผลอยึดติดไว้แค่เสี้ยววินาที เราก็อาจติดอยู่ในอดีตทันที เราอาจเป็นหัวหน้างานเมื่ออยู่ที่ทำงาน พอกลับถึงบ้านเรากลายเป็นคุณพ่อแล้ว ทางเดียวที่จะดำรงอยู่ในปัจจุบันได้ ก็คือการปล่อยวางออกจากความคิดว่าเราเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเสมอไป และ นี่ก็คือการเปิดโอกาส ให้เราเป็นไปได้ทุกสิ่ง เล่าจื๊อ กล่าวว่า “เมื่อฉันปล่อยผ่านสิ่งที่ฉันเป็น ฉันจะกลายเป็นสิ่งที่อาจจะเป็น” (When I let go of what I am, I become what I might be.) จากภูมิปัญญาบรรพกาลสู่โลกปัจจุบัน การปรับเปลี่ยน ให้เท่าทันท่วงจังหวะของสิ่งรอบตัว ยังมีความสำคัญมาก ๆ ต่อภาวะผู้นำสำหรับองค์กร เราเรียกสิ่งนี้ว่า ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) ไม่ใช่ความสามารถในการลังเลใจกลับไปกลับมา หรือ มีทางเลือกมากมายแต่ไม่ลงมือทำ ความสามารถในการปรับตัวจะเกิดขึ้นเมื่อลองทำดู ถ้าไม่สำเร็จก็ถอยกลับมามองมุมใหม่ เปิดรับไอเดียใหม่ ๆ ให้ความสำคัญกับนวัตกรรม มีสมาธิกับเป้าหมายใหญ่ และ พร้อมปรับเปลี่ยนเพื่อการบรรลุในเป้าหมายนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์เกินคาด เช่น มีบางสิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ […]

เปิดศักยภาพใหม่ : รู้สึกตัวในสิ่งที่เคยคุ้น ฝึกทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย

ราฟาเอล นาดาล นักเทนนิสมือซ้าย เขาเป็นมือวางอันดับหนึ่งของโลก และ จากสถิติต่าง ๆ จนถึงตอนนี้ เขาคงเป็นตำนานไปอีกนานครับ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ วิธีการฝึกซ้อมของเขาครับ ปกติแล้วเขาเป็นคนที่ถนัดมือขวา ทุกวันนี้เขายังคงเขียนหนังสือ และ แปรงฟันด้วยมือขวา แต่พอเล่นเทนนิสเขาจะใช้มือซ้าย ย้อนไปสมัยฝึกซ้อมเทนนิสเมื่อยังเด็ก เขาใช้สองมือตี แต่พอโตมาหน่อย จึงถนัดทั้ง 2 ข้างพอ ๆ กันครับ เมื่อต้องตัดสินใจเลือกใช้มือข้างเดียวเป็นหลัก ลุงที่เป็นโค้ชให้กับเขาก็แนะนำว่า “ฝึกใช้มือซ้ายเป็นหลักดีกว่า” เพราะคู่แข่งส่วนใหญ่ที่ใช้มือขวา จะไม่ชินกับเรา แต่เราจะคุ้นชินกับเขา เวลาต้องเผชิญหน้ากันในสนาม ประโยชน์ของการฝึกมือซ้าย ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ครับ เมื่อเราเชื่อมโยงกับเรื่องราวของสมอง ที่สมองซีกขวาควบคุมการทำงานฝั่งซ้าย และ สมองซีกซ้ายควบคุมการทำงานฝั่งขวา คนที่ถนัดมือซ้าย จำเป็นต้องฝึกใช้มือขวาไปโดยปริยาย เพราะสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ส่วนใหญ่นั้น ออกแบบมาให้กับคนที่ถนัดมือขวาครับ ส่วนคนที่ถนัดมือขวาน้อยคนนักที่จะได้ฝึกทำอะไรด้วยมือซ้าย มีงานวิจัยพบว่าคนที่ถนัดมือซ้าย สามารถทำงานที่ต้องเชื่อมโยงการใช้สมองทั้งซีกซ้าย และ ซีกขวาได้ดีกว่าคนที่ถนัดมือขวาครับ ศิลปินชื่อดังจำนวนมากถนัดมือซ้ายครับ อาทิเช่น ลีโอนาร์โด ดาวินชี, ไมเคิล แองเจโล, ปิกัสโซ, […]

บทนำสู่การเป็นผู้นำกระบวนการ : Introduction to Facilitative Leader

ในอดีตผู้นำมีบทบาทบอกให้ผู้ตามทำตาม อันนำไปสู่บรรยากาศการทำงานที่ทำไปด้วยความทนอด ทำถูกได้รางวัล ทำผิดถูกลงโทษ ทีมงานจึงอยู่ในฐานะที่ไม่ต้องออกความคิดเห็นใด ๆ เมื่อเวลาเปลี่ยน โลกได้เปลี่ยนไป เราพบความจริงว่า แม้ผู้นำที่เก่งกาจเพียงใดก็ยังมีจุดบอด และ มนุษย์ทุกคนเรียนรู้พัฒนาตนเองได้ แนวทางการทำงานแบบร่วมคิดร่วมทำจึงเกิดขึ้น “Facilitative Leader” จึงถือกำเนิดขึ้นด้วยเหตุนี้ครับ Facilitative Leaders มีท่าทีมุ่งเน้นใน 4 ส่วนหลัก คือ เน้นการมีส่วนร่วม, เน้นกระจายอำนาจ, เน้นทางเลือก ไม่ยึดติด และ เน้นสนับสนุน สร้างการเรียนรู้ 1. เน้นการมีส่วนร่วม มุ่งเน้นที่กระบวนการทำงานร่วมกัน ไม่คาดหวังให้ได้ผลอย่างใจตน เน้นฉันทามติ หรือ ทุกคนยอมรับในผลแม้ไม่สมบูรณ์แบบดังใจตน ยอมรับความต่าง เชื่อว่าไอเดียดี ๆ มาจากความต่าง 2. เน้นกระจายอำนาจ บริหารงานอย่างโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลอย่างทั่วถึง วางใจในพันธสัญญาร่วมกัน ให้เกียรติกัน ไม่เกาะติด กดดันให้คนอื่นทำอย่างที่พูด เปิดพื้นที่ให้ทีมงานเรียนรู้จากการแก้ปัญหาเอง ไม่ออกอาการคัดค้าน เกื้อหนุนให้ทีมบริหารจัดการตนเอง (Self-organizing Team) และ ฝึกความรับผิดชอบร่วมกัน […]

10 คำถามเพื่อค้นพบ “Facilitative Leader” ในตัวเรา

1.) เมื่อมีปัญหาในงาน เราจะ… ก. เข้าไปจัดการแก้ปัญหาเอง ข. ให้ทีมงานร่วมกันหาทางออก 2.) จัดการข้อมูลในงานโดย… ก. ถือข้อมูลเอาไว้กับตัวเอง ข. แจ้งข้อมูลให้กับทุกคนรับรู้ 3.) จัดการความคิดเห็นโดย… ก. ปัดป้องความคิดเห็นที่แตกต่าง ข. เปิดรับความคิดเห็นที่แตกต่าง 4.) กระบวนการตัดสินใจในทีม ทำโดย… ก. ส่งต่อการตัดสินใจของเราให้ทีมรับทราบ ข. มอบหมายให้ทีมงาน ร่วมค้นหาฉันทามติ 5.) การติดตามงาน ทำโดย… ก. ติดตามประชิด เพื่อให้ทีมงานปฏิบัติตาม ข. ไว้วางใจในพันธสัญญาที่ทุกคนมีให้ต่อกัน 6.) เมื่อมีประเด็นความขัดแย้ง คิดว่า… ก. ไม่เหมาะสมที่จะนำออกมาคุยกัน ข. เป็นสิ่งที่คุ้มค่าในการได้พูดคุยกัน 7.) เมื่อมีความขัดแย้งเกิดในทีม เราจะ.. ก. เข้าจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ข. ให้ความรู้ทีมงานถึงวิธีการคลี่คลาย 8.) เมื่อมีความคิดเห็นส่วนตัว มักจะ… ก. แน่ใจ ไม่คิดว่าจำเป็นต้องตรวจสอบ […]

เปิดพื้นที่ให้เสียงเล็ก ๆ ในการระดมสมอง : Brain Storming

กระบวนการระดมสมอง (Brain Storming) ในทางปฏิบัติแล้ว มักจะสกัดความคิดเห็นออกมาได้เพียงน้อยนิด และ บ่อยครั้งก็ไม่เวิร์คเท่ากับการแยกคิดเพียงลำพัง (Individual) สาเหตุเป็นเพราะเมื่อเรามาระดมสมองร่วมกัน ความคิดเห็นของเราจะโน้มเอียงตามเสียงบางเสียง หนึ่งความคิดเห็นในวง ได้จุดประกายความทรงจำของคนทั้งกลุ่ม ให้เข้าไปยืนบนกรอบความเชื่อเดียวกัน เสียงเล็กๆ จึงไม่มีพื้นที่ปลอดภัยเพียงพอที่จะแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างออกมา แนวทางที่จะทำให้การระดมสมอง (Brain Storming) ให้เวิร์ค! กว่าทีเคย แบ่งเป็น 3 ข้อครับ หนึ่ง) แยกคิดก่อนรวมกันคิด ปล่อยให้มีการแยกกันคิด (Individual) ก่อนรวมตัวกันคิด (Collective) อาจใช้เทคนิค 6-3-5 คือ ล้อมวงกัน 6 คน ให้แต่ละคนเขียนความคิดเห็นของตนเอง 3 ข้อลงกระดาษ จากนั้นส่งไปให้คนทางขวา เมื่อส่งครบ 5 ครั้ง ทุกคนในวงก็จะได้อ่านจนครบทุกความคิดเห็น เทคนิคนี้จะช่วยให้เราใช้ประโยชน์จากทั้งปัญญาแบบปัจเจก (Individual Wisdom) และ ปัญญาแบบกลุ่ม (Collective Wisdom) ซึ่งเมื่อสมดุลกันได้แล้ว จะได้ทั้งความสดใหม่ และ ความยั่งยืน สอง) ทอดเวลารอผู้อื่น […]

ฟัง และ ซึมซับ : listen and absorb

“Learn to be silent. Let your quiet mind listen and absorb.” — Pythagoras — เรียนรู้ที่จะเงียบ ปล่อยให้จิตใจได้เงียบงัน ฟัง และ ซึมซัม — ปีทากอรัส — เสียงเล็กๆ ของผู้เรียนคนหนึ่ง อาจผุดขึ้นมากลางวง ในลักษณะของคำถาม หรือ ข้อคิดเห็นที่คลุมเครือ กระบวนกรไม่จำเป็นต้องมุ่งไปคลี่คลายถ้อยคำนั้น โดยทันทีทันใดจนหมดเปลือก การซึบซับไปที่สภาวะผู้เรียน จะทำให้เรารู้ว่า อาจควรแค่ฟัง หรือ เลือกจะตอบรับเพียงแค่ว่า “น่าสนใจ และ เธอมีอะไรจะพูดเพิ่มเติมไหม” นี่คือ การดำรงอยู่ที่เต็มเปี่ยมอย่างหมดจดของกระบวนกร เสียงเล็กๆที่ผุดขึ้น อาจไม่ได้ต้องการคำตอบ แต่คือการแหวกทาง ตรวจความปลอดภัย ตระเตรียมพื้นที่เล็กๆ ก่อนที่พูดอะไรอย่างซื่อตรงจากภายใน หรือ เริ่มกล้าที่จะลงมือทำอะไรบางอย่าง ซึ่งนั่นวิเศษยิ่งกว่าการมอบเทคนิควิธีการใดๆ . ฟัง และ ซึมซับ ก็คือ การสอนโดยไม่สอน […]

ความรับผิดชอบ : responsibility

ทุกความรู้สึกของเรา มีความต้องการลึก ๆ ที่ยึดมั่น ขับเคลื่อนอยู่ภายใน การรับผิดชอบต่อตนเอง คือ การค้นหาความต้องการลึกๆ เหล่านั้นจากภายในจิตใจของตนเอง ไม่ใช่การมองหาใครสักคน มารับผิดชอบอารมณ์ความรู้สึกของเรา การค้บพบความต้องการลึก ๆ ภายใน จำเป็นต้องอาศัยความสงบของจิตใจ บวกกับทักษะการใคร่ครวญ (Contemplative) ย้อนกลับมาที่ร่างกาย จิตใจตนเอง การรู้ใจตนเอง คือ การรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการคลี่คลายความขัดแย้งจากภายใน ซึ่งแท้จริงแล้วเกิดจากการลืมเลือนจิตใจของเราเอง การออกจากพื้นที่คุ้นเคย (Comfort Zone) เพื่อก้าวสู่พื้นที่แห่งการเรียนรู้ (Learning Zone) เราอาจต้องเผชิญความไม่คุ้นชินเล็ก ๆ น้อย ๆ รู้สึกยาก รู้สึกอึดอัดอยู่ภายใน ช่วงแรก ๆ เราจะพยายามเชื่อมโยงความรู้สึกภายใน กับเรื่องราวภายนอกให้ได้ พอมันค่อยๆ แยกขาดจากกัน คือ เรื่องราวภายนอกก็ส่วนเรื่องราวภายนอก ความรู้สึกภายในก็คือความรู้สึกภายใน มันจะเหลือแต่อาการฉีกตึงข้างใน คราวนี้ ก็เพียงแค่เฝ้าดูอาการจางคาย ยิ้มเพื่อต้อนรับพื้นที่ใหม่ในจิตใจของเราเอง PURE Learning Process

การเรียนรู้ที่เรียบง่าย คือ ที่สุดของการเรียนรู้ : simple is good

เครื่องมือการเรียนรู้ และ กิจกรรมต่าง ๆ ในการเรียนรู้ เป็นเพียงทางผ่าน เพื่อปรับสภาวะให้ผู้เรียนพร้อมเรียนรู้ หรือ เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในเนื้อหาให้ได้อย่างลึกซึ้ง เครื่องมือการเรียนรู้ และ กิจกรรมต่างๆ จึงไม่ใช่แก่นสาระของการเรียนรู้ คุณค่าจะเกิดขึ้นเมื่อใช้ถูกจังหวะ เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เครื่องมือการเรียนรู้ ที่เรียบง่ายที่สุด คือ การพูดคุยกัน ซึ่งเป็นพื้นฐาน เป็นธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ หากสามารถพูดคุยกันได้ รับฟังกันได้ มีความไหลลื่นในวงสนทนาดีอยู่แล้ว (Generative Dialogue) เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้กิจกรรมใดๆ ให้มากไปกว่านี้ PURE Learning Process

กระบวนการเรียนรู้ : PURE Learning Process

อ.ธีรัญญ์ ไพโรจน์อังสุธร ได้พัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบเฉพาะสำหรับการฝึกอบรมขึ้นมา โดยมีชื่อที่จดจำง่าย ๆ ว่า “PURE” เป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากคุณลักษณะด้านใน สำหรับหลักสูตรทักษะการนำกระบวนการ และ ภาวะผู้นำแบบเอื้ออำนวย (Facilitation Skills) และ  หลักสูตร ผู้นำความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence for Leader) PURE Learning Process เพื่อใช้ในบริบทงานฝึกอบรม และ ชีวิตประจำวัน P : Practice, Activity and Workshop U : Understanding and Contemplating R : Reflection and Group Coaching E : Explaining and Storytelling PURE Advance Mode เพื่อการเรียนรู้พัฒนาชีวิตในระดับสูง สร้างการเปลี่ยนแปลงขั้นสุด ประกอบด้วย 4 […]